การเกิดขึ้นใหม่ของพืชพรรณในช่องว่างระหว่างเรือนยอด ในป่าดิบเขาบริเวณสถานีต้นน้ำห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ปรีชา ธรรมานนท์
พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ
ลดาวัลย์ พวงจิตร

บทคัดย่อ

ขบวนการและอัตราการเกิดขึ้นใหม่ของพืชพรรณในช่องว่างระหว่างเรือนยอดของป่าดิบเขา ได้ทำการศึกษาโดยเปรียบเทียบองค์ประกอบของชนิดพรรณไม้ ความหนาแน่นของต้นไม้ การแจกแจงความถี่ ตามความสูงของต้นไม้ และความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางที่ความสูงเพียงอก กับความสูงของต้นไม้ ในระหว่างหมู่ไม้ที่มีอายุแตกต่างกัน อายุของหมู่ไม้นั้นประมาณจากอายุของ gap indicator ช่องว่าง ระหว่างเรือนยอดจะหมดไปในเวลาประมาณ 100 ปี ทั้งนี้โดยอาศัยการเจริญเติบโตของต้นไม้จนเป็นไม้ใหญ่ เนื่องจากอายุเฉลี่ยของไม้ชั้นบนอยู่ในราว 200 ปี ดังนั้นหลังจากต้นไม้เจริญเติบโตจนเป็นไม้ชั้นบนแล้ว จึงมีอายุอยู่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 100 ปี จากการแจกแจงความสูงของต้นไม้ทั้งที่ยังมีชีวิตและที่ตายแล้วในหมู่ไม้ที่มีอายุแตกต่างกันนั้น แสดงให้เห็นว่าต้นไม้ที่เตี้ยกว่าจะตายมากกว่าต้นไม้ที่มีความสูงมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า self-thinning ซึ่งเกิดขึ้นในขบวนการของการเกิดขึ้นใหม่ของพืชพรรณในช่องว่างระหว่างเรือนยอดนั้นเป็นไปตาม 3/2 power law แม้ว่าค่าที่ได้ (-1.30) จะมากกว่า (-1.50) ซึ่งเป็นค่าที่ได้ตามกฎ ก็ตาม age 10%

Downloads

Article Details

How to Cite
ธรรมานนท์ ป., สหุนาฬุ พ. ., & พวงจิตร ล. . (2022). การเกิดขึ้นใหม่ของพืชพรรณในช่องว่างระหว่างเรือนยอด ในป่าดิบเขาบริเวณสถานีต้นน้ำห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวนศาสตร์ไทย, 10(2), 96–109. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/256441
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ