ความเสียหายของหน่อไม้ไผ่ซางและไผ่ผากมัน จากการทำลายของด้วงงวง Cytotrachelus sp. และโรคหน่อแห้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไผ่ซางและไผ่ผากมันเป็นไม้ไผ่เด่น ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ทั้งสองชนิดนี้อย่างกว้างขวาง ทั้งในทางตรงและทางอ้อม การศึกษาความเสียหายของหน่อไม้ไผ่ซางและไผ่ผากมัน จากการทำลายของด้วงงวงเจาะหน่อไม้ไผ่ (Cyrtotrachelus sp.) ได้กระทำในเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2532 โดยการคัดเลือกไม้ไผ่ทั้งสองชนิดในพื้นที่ 30 ไร่ จำนวน 10 กอ ทำเครื่องหมายและติดตามนับจำนวนหน่อของไม้ไผ่ทั้งสองชนิดที่แทงพ้นดินจนถึง 3 เมตร บันทึกการทำลายของด้วงงวง และโรคหน่อแห้ง (dried out) ปรากฏว่า ผลผลิตรวมของหน่อไผ่ซางและไผ่ผากมันคือ 7.80 หน่อ/กอ และ 10.85 หน่อ/กอ ตามลำดับ ในจำนวนหน่อที่ผลิตได้ทั้งหมดมีเพียง 18.6% ของหน่อไผ่ซาง และ 56.8% ของไผ่ผากมันเท่านั้น ที่รอดจากการเข้าทำลายของแมลงและโรคดังกล่าว จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นลำ และความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากด้วงงวงเจาะหน่อไม้ไผ่ในไผ่ซางและไผ่ผากมัน คือ 5.1% และ 21.5% ตามลำดับ ในขณะที่โรคหน่อแห้งในไผ่ซางจะมีถึง 76.3% และไม่ ฝากมัน 21.7% การจัดการโดยการตัดสางกออาจมีส่วนช่วยลดความเสียหายจากแมลงและโรคลงได้บ้าง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”