การผลิตเยื่อกระดาษจากไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิส โดยใช้ด่างผสมโซเดียมไดไธโอไนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อต้องการทราบว่า Sodium dithionite ที่ใช้ผสมลงในการต้มเยื่อกระดาษโดย กรรมวิธีที่ใช้ด่าง (Alkaline pulping) นั้น จะสามารถทำให้ผลผลิตของเยื่อเพิ่มขึ้น และความแข็งแรง (strengths) ต่าง ๆ ของเยื่อที่ได้เพิ่มขึ้นหรือไม่เพียงใด ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิส โดยทดลองต้มเยื่อกระดาษในห้องทดลอง โดยใช้กรรมวิธีซัลเฟต กรรมวิธีโซดา และกรรมวิธีโซดา + โซเดียมไดไธโอไนต์ (SD) 5% ใช้ condition ในการต้มเยื่อดังนี้ active alkali 18%, sulfidity 25%, liquor to wood ratio 4:1, cooking tem. 170°C, time to max. tem 1:30 h, time at max. tem 2:3 h, เยื่อที่ได้นำไปล้าง กรอง หาผลผลิต (yield) เศษ (reject) ค่า kappa number และนำไปตี (beat) ทำแผ่น และหาค่าความแข็งแรงต่าง ๆ (strengths) ของเยื่อตาม TAPPI standard ผลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า โซเดียมไดไธโอไนต์ ไม่ทำให้ผลผลิต ของเยื่อกระดาษเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ reject และค่า Kappa number ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และความแข็งแรง ของเยื่อกระดาษจากกรรมวิธีโซดา และกรรมวิธีโซดา + SD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไร ก็ตาม ความแข็งแรงของเยื่อกระดาษจากกรรมวิธีโซดา + SD ก็มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าเยื่อจากกรรมวิธี โซดาทั่ว ๆ ไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”