การทดสอบชนิดและแหล่งเมล็ดของไม้สกุลอเคเซีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การทดสอบชนิดและแหล่งเมล็ดของไม้สกุลอเคเซีย ที่สถานีทดลองปลูกพรรณไม้ทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕๐ เมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ๑,๕๐๐ มิลลิเมตร อุณหภูมิต่ำสุด ๒๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด ๓๔ องศาเซลเซียส ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง pH 4.8 วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อคัดเลือกชนิดและแหล่งเมล็ดของไม้ในสกุลอเคเซีย ที่มีการเจริญเติบโต ความสูงและเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการส่งเสริมการปลูกสร้างสวนป่าต่อไป ศึกษาโดยใช้ไม้ในสกุลอเคเซีย จำนวน ๑๑ ชนิด จาก ๒๒ แหล่งเมล็ด ระยะปลูก ๒x๒ เมตร เมื่ออายุครบ ๓ ปี ปรากฏว่า Acacia crassicarpa เบอร์ ๑๓๖๘๓ จากปาปัวนิวกินี เจริญเติบโตดีที่สุด ทั้งทางเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก (๑๔.๙๔ เซนติเมตร) และความสูง (๑๔.๖๙ เมตร) ส่วน Acacia melanoxylon มีการเจริญเติบโตน้อยที่สุดโดยเบอร์ ๑๔๑๗๖ จากควีนส์แลนด์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอกเพียง ๒.๒๐ เซนติเมตร และสูงเพียง ๓.๘๕ เมตรเท่านั้น ส่วนเปอร์เซ็นต์การรอดตายนั้นพบว่า Acacia auriculiformis เบอร์ ๑๓๘๕๔ จาก Northern Territory มีค่าสูงสุดถึง ๑๐๐% ในขณะที่ Acacia melanoxylon เบอร์ ๑๔๑๗๖ จากควีนส์แลนด์มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำสุดเพียง ๔๐% เท่านั้น การพิจารณาเลือกชนิดและแหล่งเมล็ดไม้สกุลอเคเซียสำหรับปลูกต่อไปนั้น ควรพิจารณาทั้งการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก ความสูง และเปอร์เซ็นต์การรอดตายร่วมกัน ชนิดไม้และแหล่งเมล็ดที่เหมาะสมคือ Acacia crassicarpa เบอร์ ๑๓๖๘๐ จากปาปัวนิวกินี Acacia auriculiformis เบอร์ ๑๓๖๘๔ จากปาปัวนิวกินี และ Acacia aulacocarpa เบอร์ ๑๓๖๘๘ จากปาปัวนิวกินี ซึ่งเมื่ออายุ ๓ ปี มีการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอกเท่ากับ ๑๓.๑๙, ๑๑.๙๖ และ ๙.๕๙ เซนติเมตร ความสูงเท่ากับ ๑๓.๕๒, ๑๒.๓๔ และ ๑๑.๔๐ เมตร และเปอร์เซ็นต์การรอดตายเท่ากับ ๙๘.๐๐, ๙๘.๖๖ และ ๙๖.๐๐% ตามลำดับ ส่วน Acacia melanoxylon นั้นไม่ควรนำมาปลูกเพราะนอกจากจะโตช้าแล้วยังมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำด้วย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”