การสำรวจแจงนับและการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ในท้องที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการใช้ประโยชน์ป่าไผ่ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่งาวฝั่งขวา บางส่วนของเซคเตอร์แม่หวด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง เริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กันยายน ๒๕๓๑ โดยการสำรวจแจงนับไม้ไผ่ในป่าเบญจพรรณพื้นที่ ๑๙๗.๓๒ ตร.กม. ด้วยการวางแปลงตัวอย่างขนาด ๑๐๐x๑๐๐ เมตร จำนวน ๓๘ แปลง คิดเป็นพื้นที่ ๐.๒% ของพื้นที่ทั้งหมด และสำรวจปริมาณการใช้ไม้ไผ่และหน่อไม้ โดยการสังเกตและออกแบบสอบถามราษฎรที่มีอาชีพตัดไม้ไผ่และขุดหาหน่อไม้ ผลการศึกษา พบไม้ไผ่ ๗ ชนิดได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ ไม่ไล่ลอและไผ่ปล้องยาว จำนวน ๖.๑๘, ๕.๐๕, ๒.๕๐, ๐.๖๕, ๐.๒๗, ๐.๐๙ และ ๐.๐๓ ล้านกอ ตามลำดับ คิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๔.๗๗ ล้านกอ มีจำนวนลำเป็น ๑๑๔.๑๗ ล้านลำ ลำตาย ๕๒.๙๓ ล้านลำ ลำเป็นยังจำแนกเป็นอายุ ๑-๒ ปี ๒๐.๘๑ ล้านลำ และอายุมากกว่า ๒ ปี ๔๐.๔๒ ล้านลำ ทางด้านการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ พบว่า ไผ่ซางเป็นไผ่ที่นิยมตัดมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ทั้งเป็นลำและทำเป็นไม้สะลาบ มีราษฎรจำนวน ๑๗๕ รายที่รับจ้างนายทุนตัดไม้ไผ่ขายมีรายได้วันละ ๕๔ บาท คิดเป็นปีละ ๑๐,๓๖๙ บาท/คน ปริมาณไม้ไผ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ใน ๑ ปี ๑,๒๐๕,๖๐๐ ลำ คิดเป็นมูลค่า ๒,๔๑๕,๒๐๐ บาท โดยไม้ไผ่ส่วนมากนำไปใช้ทำรั้วบ้าน ใช้ในอุตสาหกรรมไม้เสียบลูกชิ้น ไม้หมูสะเต๊ะ ไม้จิ้มฟัน ตะเกียบ และทำธูป และไม้ไผ่ที่แห้งแล้วนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีจำนวนมากในจังหวัดลำปาง การใช้ประโยชน์หน่อไม้ มีผู้เข้าไปขุดหน่อไม้ ๙๕ ราย ในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน โดยขุดได้ประมาณ วันละ ๑๕ กก./คน มีรายได้เฉลี่ย ๓๐ บาท/วัน ปริมาณหน่อไม้ที่นำออกมาทั้งปีคือ ๑๗๑,๐๐๐ กก. คิดเป็นมูลค่า ๓๔๒,๐๐๐ บาท ซึ่งนำมาทำเป็นหน่อไม้ดอง ๑๒๙,๐๐๐ กก. คิดเป็นมูลค่า ๒๓๒,๒๐๐ บาท
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”