การรอดตายและการเจริญเติบโตของไม้ประดู่ ที่ปลูกด้วยเหง้าและต้นกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปลูกไม้ประดู่ สามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งการปลูกโดยใช้เหง้าและการปลูกโดยใช้กล้าไม้ การทดลองได้เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตและการรอดตายของการปลูกไม้ประดู่ทั้งสองวิธีได้แก่ การปลูกโดยใช้เหง้าและการปลูกโดยใช้กล้าไม้ซึ่งมีอายุ ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน พบว่าหลังจากปลูกไปแล้ว ๑๕ เดือน อัตราการเจริญเติบโตรายคาบ (Periodic Annual Increment - PAI) ทั้งทางด้านความโตและความสูงไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ (Relative Growth Rate - RGR) พบว่าค่า RGR ของความสูงไม่มีความแตกต่างกัน แต่ค่า RGR ของความโตมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ RGR เฉลี่ยของความโตของเหง้าเท่ากับ ๓.๒๔ ส่วน RGR เฉลี่ยของความโตของกล้าไม้อายุ ๖ เดือน และ ๑๒ เดือน เท่ากับ ๒.๒๒ และ ๒.๓๔ ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเหง้า ในการเจริญเติบโตทางความโตได้ดีกว่าในระยะ ๑๕ เดือนแรก สำหรับการรอดตาย พบว่าเปอร์เซ็นต์การรอดตายของการปลูกโดยใช้กล้าไม้ที่มีอายุ ๑๒ เดือน และอายุ ๖ เดือน และโดยใช้เหง้าเท่ากับ ๙๖ ๙๕ และ ๘๔ เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าถึงแม้การปลูกด้วยเหง้าจะมีอัตราการรอดตายต่ำกว่าการปลูกโดยใช้กล้าไม้ แต่ก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาเปอร์เซ็นต์การรอดตาย อัตราการเจริญเติบโตและความสะดวกในการดำเนินงาน การปลูก และการขนส่งต้นกล้า) ร่วมกันแล้วสามารถสรุปได้ว่า การปลูกไม้ประดู่ที่โครงการวิจัยและฝึกอบรมการปลูกสร้างสวนป่า จังหวัดนครราชสีมา ควรใช้เหง้ามากกว่าต้นกล้า
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”