การใช้ “เฮช” แฟกเตอร์ในกรรมวิธีซัลเฟตกับไม้ใบกว้างในแถบร้อน

Main Article Content

นิยม เพชรผุด

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อต้องการทราบว่า “H” factor ซึ่งสามารถใช้ได้กับไม้สน (Softwood) และไม้ใบกว้าง (hardwood) ในแถบหนาว ในกรรมวิธีการผลิตเยื่อกระดาษโดยกรรมวิธีซัลเฟตนั้น จะสามารถนำมาใช้กับไม้ใบกว้างในแถบร้อนอย่างประเทศไทยได้หรือไม่ ซึ่งผลจากการทดลองปรากฏว่าสามารถนำมาใช้ได้ ในการทดลองครั้งนี้ได้ทดลองใช้กับไม้เลี่ยน (Melia agedarach Linn.) โดยทดลองต้มเยื่อกระดาษในห้องทดลอง ๓ treatment treatment ละ ๕ ตัวอย่าง ใช้ condition ในการต้มเยื่อ active alkali 25% sulfridity 25% liquor to wood ratio 4 : 1 cooking temperature 170° C แต่ละ treatment time to maximum temperature ต่าง ๆ กัน คือ ๑ ๑ : ๓๐ และ ๒ ชม. ตามลำดับ โดยให้ค่าของ H factor เท่ากันหมดคือ ๒๕๐๐ โดยไม่คำนึงถึง time at maximum temperature เยื่อที่จะได้นำไปหาผลผลิต (yield) ค่า Kapper number และค่าความแข็งแรง (Strength) ต่าง ๆ ของเยื่อคือค่า breaking length, burst factor, tear factor, folding endurance แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยวิธี analysis of variance ผลที่ได้ปรากฏว่า ผลผลิตของเยื่อ ค่า Kappa number และความแข็งแรงต่าง ๆ ของเยื่อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หรืออาจกล่าวได้ว่า H factor นั้นสามารถนำมาใช้กับไม้เลี่ยน ในการทำเยื่อกระดาษ โดยกรรมวิธีซัลเฟตได้ และน่าจะนำมาใช้กับไม้ชนิดอื่น ๆ อีกได้เช่นกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ