เชื้อราน้ำเค็มท่วมถึงในระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลนระนอง

Main Article Content

อนิวรรต เฉลิมพงษ์
ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชื้อราน้ำเค็มท่วมถึง (Intertidal marine fungi) ในระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลนนี้ได้ดำเนินการ ณ บริเวณป่าชายเลน ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยทำการเก็บตัวอย่างซากพืชส่วนราก, เปลือก, ลำต้น และเนื้อไม้ จากไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Bl), โกงกางใบใหญ่ (R. mucrongta Poir.) ลำแพนทะเล (Sonneratia griffithii Kurz) และต้นจาก (Nupa fruticans Wurmb.) ห่อใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปตรวจพิสูจน์ชนิดของเชื้อราในห้องปฏิบัติการ ผลปรากฏว่าได้พบเชื้อราน้ำเค็มป่าชายเลนรวมทั้งสิ้น 59 ชนิด จำแนกเป็นเชื้อราน้ำเค็มในอนุกรม (Sub-Division) Ascomycotina 50 ชนิด Deuteromycotina 7 ชนิด และ Basidiomycotina 2 ชนิด ชนิดที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ Savoryella lignicola Jones & Eaton, Aigialus grandis Kohlm. & Schatz, Dactylospora haliotrepha (Kohlm. & E. Kohlm.) Hafellner, Halosarpheia abonnis Kohlm. และ Massarina velataspora Hyde & Borse ตามลำดับ อย่างไรก็ดีชนิดเชื้อราน้ำเค็มป่าชายเลนที่พบบ่อยที่สุดนี้มีอยู่ประมาณ 26 ชนิด จัดเป็นเชื้อราที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏอีกว่าชนิดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนจะเป็นตัวกำหนดความแตกต่างและความหลากหลายของชนิดเชื้อราน้ำเค็มที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ผลวิจัยที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยทำให้เราทราบถึงความสัมพันธ์ของชนิดและการกระจายพันธุ์ของราน้ำเค็มป่าชายเลน ซึ่งมีอิทธิพลต่อกระบวนการย่อยสลายซากพืช (decomposition) และการหมุนเวียนของธาตุอาหาร (Nutrient recycling) ในระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลนระนอง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ