ชีววิทยาของเพลี้ยอ่อนไม้ไผ่ (Pseudoregna sp.)

Main Article Content

สุรชัย ชลดำรงค์กุล

บทคัดย่อ

การศึกษาเกี่ยวกับเพลี้ยอ่อนไม้ไผ่ ได้กระทำในท้องที่ 4 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี และ กรุงเทพมหานคร โดยตลอดทั้งปี พบว่าเพลี้ยอ่อนชนิดนี้ เป็นเพลี้ยอ่อนในวงศ์ Pemphigidae ซึ่งอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีการแบ่งเป็นวรรณะต่างๆ พฤติกรรมของแต่ละวรรณะแตกต่างกันไป ที่พิเศษสำหรับเพลี้ยอ่อนชนิดนี้คือมีวรรณะทหารซึ่งเรียก pseudoscorpion-like soldier เป็นตัวอ่อนในระยะที่หนึ่งเท่านั้น ไม่มีการลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย มีหน้าที่ป้องกันตัว เพลี้ยอ่อนอาศัยไม้ไผ่เป็นพืชอาศัยรอง และจะอาศัยพืชในสกุล Styrax เป็นพืชอาศัยหลัก การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เรียก parthenogenesis จะเกิดขึ้นที่ไม้ไผ่โดยเป็นการผลิตเฉพาะเพศเมียและเพลี้ยอ่อนทหารเท่านั้นซึ่งจะเกิดในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงกุมภาพันธ์ ส่วนในเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ จะพบเพลี้ยอ่อนที่มีปีกเกิดปะปนอยู่ ซึ่งเพลี้ยอ่อนที่มีปีกนี้ จะบิน เคลื่อนย้ายไปยังพืชอาศัยหลักเพื่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศต่อไป จนเดือนพฤษภาคมจึงเริ่มพบเพลี้ยอ่อน บนไม้ไผ่อีกครั้งโดยพบที่หน่อก่อน ในเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นช่วงที่ลำไผ่แตกกิ่งแขนง จะพบเพลี้ยอ่อนบนกิ่งแขนงด้วย ไผ่ที่ได้รับอันตรายได้แก่ ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซางนวล ไผ่ป่า ไผ่น้ำเต้า และไผ่สีสุก การป้องกันกำจัดกระทำได้โดยง่าย คือใช้น้ำสบู่ 2.5% ฉีดพ่นโดยตรงบนกลุ่มเพลี้ยอ่อน จะทำให้เพลี้ยอ่อนตายในเวลา 12 ชม. ในธรรมชาติพบ ด้วงเต่าลาย (Synonycha grandis Thunberg) และหนอนผีเสื้อชนิด Dipha aphidivora (Meyrick) เป็นตัวของเพลี้ยอ่อนไม้ไผ่ด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชลดำรงค์กุล ส. (2022). ชีววิทยาของเพลี้ยอ่อนไม้ไผ่ (Pseudoregna sp.). วารสารวนศาสตร์ไทย, 9(2), 101–106. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/256464
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ