การประเมินผลอิทธิพลร่วมของชนิดพันธุ์ไม้และท้องที่ของการทดลอง ปลูกพันธุ์ไม้ออสเตรเลีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของการทดลองปลูกชนิดพันธุ์ไม้ออสเตรเลียในท้องที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งไม่มีอายุ 3 ปี ปรากฏว่าการเจริญเติบโตในด้านความสูง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอกและการรอดตาย มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชนิดไม้ในแต่ละท้องที่ การวิเคราะห์อิทธิพลร่วมระหว่างแหล่งเมล็ดไม้และท้องที่ปลูก พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติในการเจริญเติบโตในท้องที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด ในการศึกษาการปรับตัวของแต่ละชนิดพันธุ์ไม้ ในท้องที่ต่าง ๆ โดยใช้ค่า regression coefficient ของความสูง และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก พบว่า Eucalyptus camaldulensis และ E.pelita ขึ้นได้ดีในทุกท้องที่ ซึ่งแสดงว่ามีการปรับตัวได้ดีและสม่ำเสมอตามสภาพท้องที่ ส่วน Acacia crassicarpa และ A. auriculiformis มีความแปรปรวนในการปรับตัวในแต่ละท้องที่ ซึ่งในท้องที่ที่เหมาะสมจะมีการเจริญเติบโตได้ดีมาก สำหรับ A. audacocarpa แบ่งลักษณะการเจริญเติบโตและการปรับตัวออกเป็น 2 กลุ่ม ตามถิ่นกำเนิดอย่างชัดเจน พวก Casuarina และ Melaleuca มีการปรับตัวตามสภาพท้องที่ได้น้อยมาก จึงเจริญเติบโตได้ไม่ดีในทุกท้องที่ที่ทดลองปลูก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”