การเจริญเปลี่ยนแปลงของดอกยางนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเจริญพัฒนาของดอกยางนา ได้อาศัยการสังเกตจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกของดอก ตั้งแต่ระยะตาดอก จนกระทั่งผลแก่ซึ่งใช้เวลา ๑๙๖ วัน ตาช่อดอกเกิดจากกิ่งที่แตกใหม่ ตาดอกนี้ประกอบด้วยดอกย่อยที่มีการเรียงตัวแบบ Simple racame ในแต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบ เกสรตัวผู้ ๓๐ อัน และเกสรตัวเมีย ๑ อัน เกสรตัวเมียประกอบด้วยรังไข่ ๓ ห้อง แต่ละห้องมีไข่อ่อน (ovule) ๒ อัน ไข่อ่อนแต่ละอันมีการเรียงตัวแบบ anatropous และมีการเรียงตัวของรกแบบ axile placentation การเจริญพัฒนาของดอกตั้งแต่ระยะตาดอกจนถึงระยะที่พร้อมผสมพันธุ์ใช้เวลา ๗๐ วัน หลังจากผสมพันธุ์แล้วกลีบดอกเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียร่วงโรยไป ส่วนกลีบเลี้ยง ๒ กลีบ เจริญเป็นปีกของผล สำหรับรังไข่พัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นผลที่มีขนาดโตเต็มที่ และได้พัฒนาต่อไปจนผลแก่ใช้เวลา ๑๘ สัปดาห์ หลังจากผสมพันธุ์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”