ความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์กระทิงและมัคคุเทศก์ตำบลวังหมี จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

รักสุดา มามะ
รัชนี โพธิแท่น
นิตยา เมี้ยนมิตร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพ รูปแบบ และประเมินความพร้อมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์กระทิงและมัคคุเทศก์ตำบลวังหมี มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลัก และการสำรวจครัวเรือนด้วยแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 118 ครัวเรือน ในบ้านคลองปลากั้งและบ้านทรัพย์ทวีคูณ ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา พบว่า การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนมีโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบกิจกรรม ในภาพรวมพบว่า ชุมชนมีความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 1.92 แบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบ (41 ตัวชี้วัด) ได้แก่ ด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (8 ตัวชี้วัด) มีความพร้อมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 1.97 รองลงมา คือ ด้านอนุรักษ์และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (7 ตัวชี้วัด) และด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับนักท่องเที่ยว (7 ตัวชี้วัด) มีค่าเฉลี่ย 1.93 ด้านการส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ (5 ตัวชี้วัด) มีค่าเฉลี่ย 1.89 และด้านคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัย (14 ตัวชี้วัด) มีค่าเฉลี่ย 1.87 มีแนวทางส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ 1) พัฒนาศักยภาพบุคคลนำเที่ยวและชุมชน 2) เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ 3) พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน 4) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ และ 5) ประชาสัมพันธ์ให้กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้น


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chimsook, J. 2001. A Community-Based Oral Public Health Approach to Promote Health Equity. Khon Kaen University, Khon Kaen. (in Thai)

Higginbottom, K. 2004. Wildlife tourism: An introduction. Wildlife Tourism: An Introduction. Wildlife Tourism: Impacts, Management and Planning, 1-14.

Khowinthawong, C. 2016. Wildlife Tourism Management in Thai National Parks. M.Sc. Thesis, Kasetsart University. Bangkok. (in Thai)

Krejcie, R.V., Morgan, D.W. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Lenz, E.R. 2010. Measurement in Nursing and Health Research. Springer publishing company. New York, United Stated.

Manirochana,N. 2017. Community based tourism management. International Thai Tourism Journal, 13(1): 25-46.

Phumsathan, S., Pongpattananurak, N. 2021. Wildlife tourism management: case study of the Kruger National Park, South Africa as a guideline for wildlife tourism management in Thailand. Thai Journal of Forestry, 40(2): 204-219. (in Thai)

Rojanasoonthorn, T. 1999. Summary of the Northern Tourism Development Seminar. Tourism Authority of Thailand, Bangkok. (in Thai)

Suansri, P., Yeejaw-haw, S. 2013. Community Based Tourism Standard Handbook. The Thailand Community Based Tourism Institute, Chiang Mai. (in Thai)

Thongma, W. 2018. The Community-based Tourism for Improving the Quality of Life to Communities in the Forest Area. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. (in Thai).

Tongsanoer, N. 2018. The readiness of people in community development as a new attraction In: The 9th Hatyai National and International Conference. Hatyai, Thailand, pp. 720-730. (in Thai)