การศึกษาเบื้องต้นของการทำเยื่อกระดาษ โดยวิธีซัลเฟตจากไผ่เพ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองต้มเยื่อโดยวิธีซัลเฟตทำจากลำต้นของไผ่เพ็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มม. ที่ตัดมาจากสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา สภาวะในการต้มเยื่อที่ใช้ทคลองคือ active alkali 16%, sulfidity 25%, สัดส่วนของน้ำยาต้มเยื่อต่อไผ่เพ็ด 4:1 เวลาที่ 170°C 30-90 นาที ผลผลิตเยื่อ ตัวเลขคัปปา และพลังงานที่ใช้ในการบดเยื่อ ขึ้นอยู่กับปริมาณ active alkali ที่ใช้ผลผลิตเยื่อมีค่าตั้งแต่ 36% ถึง 46% ตัวเลขคัปปามีค่าตั้งแต่ 23-47 ความแข็งแรงแผ่นเยื่อทดสอบขึ้นอยู่กับความอิสระของเยื่อมากกว่าปริมาณ active alkali แผ่นเยื่อที่ 350 ml CS มีความแข็งแรงสูงกว่าที่ 500 m1 CS ค่าเฉลี่ยของแผ่นเยื่อที่ความอิสระ 350 ml CS ของทุกสภาวะการต้มเยื่อสรุปได้ดังนี้ ความหนา 0.13 มม. น้ำหนักมาตรฐานที่ปราศจากความชื้น 54.2 ก. ต่อ ตร.ม. ความแน่น 0.44 ก. ต่อ ลบ.ม. แรงดึง 4.11 กม. การยืด 5.80% แฟคเตอร์ของแรงดันทะลุ 28.0 แฟคเตอร์ของแรงต้านทานต่อการฉีกขาด 152 และความทนทานต่อแรงหักพับ 16
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”