ความเป็นไปได้ในการใช้กับดักแสงไฟสำรวจปริมาณ ของผีเสื้อหนอนทำลายใบสัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการนับจำนวนผีเสื้อทำลายใบสักที่ได้จากกับดักแสงไฟ ที่สวนสักเขาบิน จังหวัดราชบุรี ในปี พ.ศ. 2529 พบว่าผีเสื้อหนอนกินผิวใบสัก (Eutectona machaeralis) จับได้ในปริมาณมากกว่าหนอน กินใบสัก (Hyblaea puera) มาก ปริมาณ E. machaerlis ที่จับได้ในเดือนมิถุนายน, กรกฎาคม, สิงหาคม และกันยายน เฉลี่ยต่อวันต่อกับดักหนึ่งอัน คือ 14.3, 2.6, 1.2 และ 0.2 ตัวตามลำดับ ในปี 2529 นี้ไม่มีการระบาดของหนอนกินใบสัก เพราะฉะนั้นจำนวนผีเสื้อที่จับได้จากกับดักไม่สามารถใช้เป็นดัชนีชี้ว่ามีการระบาคเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีจำนวนผีเสื้อของหนอนกินผิวใบสักที่ได้จากกับดักแสงไฟ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์บางประการที่เกี่ยวข้องกับปริมาณใบสักที่ถูกหนอนกินผิวใบทำลาย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากับดักแสงไฟเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่อาจนำมาใช้ในการหาปริมาของผีเสื้อหนอนกินผิวใบสัก (E. machaeralis) ในพื้นที่หนึ่ง ๆ ได้แต่จะใช้กับหนอนกินใบสัก (H. puera) ไม่ได้ สำหรับในปี 2529
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”