มวลชีวภาพของหญ้าบางชนิดภายใต้สวนป่าไม้เลี่ยน ที่มีอายุและระยะห่างระหว่างต้นต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ได้ทำการทดลองหามวลชีวภาพของพืชในวงศ์หญ้า 4 ชนิด คือ หญ้ากินนี รูชี เฮมิล และกรีนแพนิค ภายใต้สวนป่าไม้เลี่ยนที่มีระยะห่างระหว่างต้น 4x4 เมตร (ปลูกปี พ.ศ.2523) และ 2.8 เมตร (ปลูกปีพ.ศ. 2524) ที่สวนป่าองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2529 โดยใช้วิธีทดลองแบบ Completely randomized factorial design ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมวลชีวภาพบนดินปรากฏว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ทั้งระหว่างชนิดหญ้า และระหว่างระยะห่างระหว่างต้น โดยหญ้ากินนีมีมวลชีวภาพเฉลี่ยต่อปีสูงสุดคือ 1007.1 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ ส่วนหญ้ารูซี เฮมิล และกรีนแพนิค มีมวลชีวภาพเฉลี่ย 915.4, 809.7 และ 408.1 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ตามลำดับ ปริมาณมวลชีวภาพของหญ้าที่เก็บแต่ละครั้งจะผันแปรไปตามปริมาณน้ำฝน สำหรับสวนป่าที่ปลูกระยะห่าง 2x8 เมตร มีมวลชีวภาพเฉลี่ยจากหญ้าทุกชนิดเท่ากับ 1053.8 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ ซึ่งมากกว่าสวนป่าที่ปลูกด้วยระยะห่าง 4x4 เมตร ที่มีมวลชีวภาพรวมโดยเฉลี่ยเพียง 516.3 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ ถ้าหากต้องการประยุกต์หลักการด้านวนเกษตรเข้าจัดการพื้นที่สวนป่าก็ควรใช้ระยะปลูก 2x8 เมตร จะเหมาะสมกว่า 4x4 เมตร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”