การสูญเสียดินและน้ำจากพื้นที่ปลูกป่าบนขั้นบันไดดิน บริเวณดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการสูญเสียดินและน้ำจากพื้นที่สวนป่าที่ทำขั้นบันไดดิน บนพื้นที่สูงของโครงการหลวง อ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2526 ถึงเดือนตุลาคม 2527 กระทำโคยใช้แปลงทดลองขนาด 4x15 เมตร จำนวน 5 แปลง โดยแต่ละแปลงจะปลูกไม้โตเร็วจากต่างประเทศแปลงละชนิดคือ Aleurites montana Wils., Zelkova formosana Hay., Liquidambar formosana Hance., Acacia confusa Merr., และ Fraxinus graffithii C.B. Clarke. ไม้โตเร็วทุกชนิดปลูกด้วยระยะ 2.0.x2.5 เมตร นอกจากนี้ยังใช้แปลงทคลองขนาดเดียวกันอีก 2 แปลง ซึ่งสร้างขึ้นในบี พ.ศ. 2527 เพื่อศึกษาการสูญเสียดินและน้ำจากการปลูกต้นเพาโลเนีย (Paulowia taiwaniana Huet Chang. sp. nov.) โดยไม่ทำขั้นบันไดดิน และอีกแปลงหนึ่งไม่ปลูกอะไร แต่ไถพรวนขึ้นลงตามแนวลาดเขา เพื่อศึกษาค่าความคงทนของติน (K-Factor ใน Universal Soil Loss Equation, USLE) ซึ่งจะสามารถใช้หาค่า PC-factor ใน USLE สำหรับไม้โคเร็วชนิดต่าง ดังกล่าว ผลการศึกษาปรากฏว่า ในปี พ.ศ.2526 นั้น การสูญเสียดินและน้ำโดยเฉลี่ยจากแปลงไม้โตเร็วทุกชนิดมีประมาณ 0.2 ต้น/เฮคแตร์/ปี และ 17 มม./ปี ตามลำดับ ในปีต่อมาค่าเฉลี่ยของการสูญเสียดินและน้ำดังกล่าวลดเหลือ 0.1 ต้น/เฮตแตร์/ปี และ 14 มม./ปี ตามลำตับ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบในเชิงสถิติแล้วการสูญเสียดินและน้ำจากแปลงทดลองที่ปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้น 2 แปลงหลังที่ปลูกเพาโลเนีย และแปลงที่ไถพรวนขึ้นลงโดยไม่ปลูกอะไร โดยที่ 2 แปลงหลังนี้มีการสูญเสียดินมากกว่าแปลงที่ปลูกไม้โตเร็วชนิดต่าง ๆ ประมาณ 16 และ 600 เท่า (คิดต่อ 1 มม. ของน้ำบ่าหน้าดิน) การสูญเสียน้ำหรือการเกิดน้ำบ่าหน้าดินจากแปลงปลูกเพาโลเนียโดยไม่ทำขั้นบันไตดิน และแปลงไถพรวนขึ้นลงมากกว่าในแปลงไม้โตเร็วชนิตต่าง ๆ ที่ทำขั้นบันไดดินประมาณ 6 และ 15 เท่า ตามลำดับ ค่า K ของดินบริเวณแปลงทดลองคำนวณจากพลังงานของฝนในปี 2527 เฉลี่ยได้ประมาณ 0.04 ซึ่งจัดเป็นดินที่มีสมรรถนะการพังทลายต่ำ และค่า PC ของไม้โตเร็วชนิดต่าง ๆ ภายใต้การใช้ขั้นบันไดดินช่วยมีค่าประมาณ 0.00035 ซึ่งเป็นค่าที่น้อยกว่าค่า PC ของป่าดิบเขาที่ศึกษาไว้ที่สถานีวิจัยห้วยคอกม้า แสดงว่าการปลูกสวนป่าไม้โตเร็วโดยใช้ขั้นบันไดดินช่วยนั้นสามารถป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ดีกว่าป่าธรรมชาติดั้งเดิมของท้องที่นี้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”