มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน การกักเก็บคาร์บอนและปริมาตรพะยูง ที่ปลูกในสวนป่าในภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

วรพรรณ หิมพานต์
อารียพัชร์ เพชรรัตน์
ชนิษฐา จันทโชติ
สุพรณี พวงสุนทร

บทคัดย่อ

การศึกษามวลชีวภาพเหนือพื้นดิน การกักเก็บคาร์บอนและปริมาตรของพะยูงในภาคใต้ ดำเนินการโดยใช้ต้นพะยูงอายุ 11 ปี ในแปลงทดสอบสายพันธุ์และถิ่นกำเนิดไม้พะยูง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และต้นพะยูงอายุ 6 ปี ในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ จังหวัดสงขลา ในแต่ละพื้นที่ทำการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงของต้นไม้ทุกต้น ศึกษามวลชีวภาพด้วยวิธีการชั่งน้ำหนักและนำมาสร้างสมการแอลโลเมตริก ทำการตัดต้นไม้ตัวอย่างจำนวน 10 ต้น ตามชั้นของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และทำการชั่งน้ำหนักส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ และนำตัวอย่างไปหาความชื้นเพื่อนำมาประมาณค่ามวลชีวภาพ ส่วนการกักเก็บคาร์บอนและการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คำนวณจากสมการ (การกักเก็บคาร์บอน = มวลชีวภาพ x 0.47 และการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ = การกักเก็บคาร์บอน x 3.67) ทำการสร้างสมการสำหรับประมาณปริมาตรจากต้นไม้ตัวอย่าง ปริมาตรของต้นไม้และการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสวนป่าวิเคราะห์จากต้นไม้ในแปลงตัวอย่างขนาด 40 เมตร x 40 เมตร


ผลการศึกษาพบว่าพะยูงอายุ 11 ปี ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีอัตราการรอดตายร้อยละ 89.5 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ย 10.30±3.97 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ย 12.08±2.79 เมตร ในขณะที่ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีด้านขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงเท่ากับ 0.94±0.36  เซนติเมตรต่อปี และ 1.10±0.25 เมตรต่อปี ตามลำดับ มีการกักเก็บคาร์บอนและการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 33.07 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ และ 121.25 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ ปริมาตรเหนือเปลือกและปริมาตรใต้เปลือกเท่ากับ 56.23 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์และ 45.61 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ การรอดตายของพะยูงอายุ 6 ปี ที่จังหวัดสงขลา เท่ากับร้อยละ 92.0 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ย 7.50±3.09 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ย 6.32±2.02 เมตร ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีด้านขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงเท่ากับ 1.25±0.51 เซนติเมตรต่อปี และ 1.07±0.32 เมตรต่อปี ตามลำดับ มีการกักเก็บคาร์บอนและการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 6.72 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์และ 24.65 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ มีปริมาตรเหนือเปลือกและปริมาตรใต้เปลือกเท่ากับ 16.82 ลูกบาศ์กเมตรต่อเฮกตาร์และ 9.83 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์ตามลำดับ สมการแอลโลเมตริกที่ได้จากการศึกษานี้ที่ใช้เพียงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเป็นปัจจัยเดียวจะอำนวยความสะดวกในการประเมินปริมาตรลำต้นและการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการซื้อขายคาร์บอนในสวนป่าของเกษตรกรต่อไป


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bantakhun. 2023. General Condition and Basic Information. https://www.bantakhun.go.th/files/general.pdf. 7 February 2023. (in Thai)

Environmental Research and Training Center. 2018. Development the Calculating Carbon Stock Carbon Exchange Process. Final Report, Environmental Research and Training Center, Department of Environmental Quality Promotion. Bangkok, Thailand. (in Thai)

IPCC. 2006. 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories Volume 4 Agriculture, Forestry and Other Land Use. The Institute for Global Environmental Strategies (IGES), Hayama, Japan.

León, G.C., Uranga-Valencia, L.P. 2013. Theoretical evaluation of Huber and Smalian methods applied to tree stem classical geometries. Bosque, 34(3): 311-317.

Liengsiri, C., Tiyanon, P., Surbkar, A., Kittibunpacha, S. 1993. Prayoong. .In: Document for Forest Tree Planting. Royal Forest Department, Bangkok, Thailand, pp. 143-150. (in Thai)

Meunpong, P. 2016. Dalbergia cochinchinensis: from the cattle corral fence to the forbidden city. .In: The 8th Decade, Forestry, Science of Life. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand, pp. 143-150. (in Thai)

Mungkalarat, C., Kanchanaburangura, C. n.d. Seedling Seed Orchard Establishment of Dalbergia cochinchinensis by the Progeny Trial. Royal Forest Department, Bangkok. (in Thai)

Nualngam, S., Wachrinrat, C. 2000. Role of reforestation on carbon sink at Re-afforestation Research and Training Station, Changwat Nakhon Ratchasima. Thai Journal of Forestry, 19-21(1): 96-103. (in Thai)

Pinthong, A., Visaratana, T., Hutasangchai, C., Meunpong, P., Diloksumpun, S. 2017. Estimation of heartwood and carbon storage of Dalbergia cochinchinensis Pierre at Mu Si Silvicultural Research Station, Nakhon Ratchasima province. Thai Journal of Forestry, 36(2): 46-54. (in Thai)

Pitpreecha, K., Visaratana, T., Kiratiprayoon, S., Viriyabuncha, C. 1987. Evaluation the Biomass and Stem Volume of Eucalyptus camaldulensis. Technical document 18. Royal Forest Department. Bangkok, Thailand. (in Thai)

Sahunalu, P. 2009. Evaluation the biomass of plant and forest. Journal of Forest Management, 3(5): 63-88. (in Thai)

Songkhla Province. 2023. Terrain and Climate. https://www.songkhla.go.th/content/geography, 7 February 2023. (in Thai)

Sonngai, A., Boontavee, B., Wutthiwichan, T. 1988. Demonstration Forest Plantation. In: Proceedings of the 4th of Silvicultural Seminar. Chonburi, Thailand, pp. 225-240. (in Thai)

Suwannarat, G., Tumthong, M., Sathitpoom, P., Phochathihansa, O. 2015. Biomass and Carbon Storage in Aboveground of Siamese rosewood (Dalbergia cochinchinensis Pierre) Base on Allometric Principle. Final report, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Thongfak, C., Diloksumpun, S., Wachrinrat, C., Chumsangri, T. 2013. Biomass and carbon storage in biomass of teak planted at Thong Pha Phum plantation, Kanchanaburi province. In: Proceedings of the 9th of Silvicultural Seminar: Silvicultural Forest restoration according to His Majesty's initiative. Bangkok, Thailand, pp. 221-231. (in Thai)

Tiyanon, P., Tiyanon, S.. n.d. The Study of Dalbergia cochinchinensis Planted by Bag-seedling, Bare-rooted Seedling and Sprout at Phitsanulok Tree Plant Research Station. Royal Forest Department, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Visaratana, T., Pinthong, A., Hutasangchai, C. 2016. Heartwood estimation of Dalbergia cochinchinensis Pierre in the Royal Forest Department plantation. .In: Proceedings of the 10th of Silvicultural Seminar: Plantation towards Thailand’s Eco-Economy. Bangkok, Thailand, pp. 33-50. (in Thai)

Wongnam, P., Prasomsin, P. 2020. Local Merchantable Volume Table of Dalbergia cochinchinensis Pierre: A Case Study at the Tha Kum Noboru Umeda Plantation, Trat Province. Thai Journal of Forestry, 39(2): 164-175. (in Thai)