ความสำคัญของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในด้านที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสัตว์บ้าของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผืนป่าใหญ่ที่ปกคลุมที่ลุ่มหุบเขาและแนวเทือกเขาสลับซับซ้อน มีอาณาเชตพื้นที่ 3,200 ตร.กม. ตั้งอยู่ทางชายแดนด้านตะวันตกของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่าง จ. กาญจนบุรี และ จ. ตาก ในนามของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยสภาพป่าที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งพืชพรรณและสัตว์ป่าที่สำคัญของประเทศ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตั้งอยู่ในบริเวณซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเขตสัตวภูมิศาสตร์ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ จึงเป็นแหล่งรวมของสัตว์ป่าจากหลาย ๆ เขตสัตวภูมิศาสตร์ ของประเทศไทย จากการดำเนินการสำรวจชนิดพันธุ์สัตว์ป่าระหว่าง พ.ศ.2525-2530 การสำรวจทางภาคสนามได้ใช่วิธีการหลายรูปแบบผสมผสานกัน รวมทั้งการตรวจสอบจากเอกสารต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่ามีสัตว์ป่าประเภทมีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 707 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม นกป่า สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกและปลา เป็นจำนวน 82, 415, 89, 30 และ 91 ชนิดพันธุ์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาด้านสถานภาพปัจจุบันพบว่ามีสัตว์ป่า 21 ชนิด ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ และอีก 65 ชนิด เป็นสัตว์ป่าที่ถูกคุกคาม ด้วยเหตุดังกล่าวพื้นที่อนุรักษ์แห่งนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นหลักประกันด้านการอยู่รอดของสัตว์ป่าที่อยู่ในสภาพวิกฤตใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งหากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและสภาพแวดล้อมที่มีค่าที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำลังจะได้รับการประกาศเป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลกถูกทำลายลง จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”