ลักษณะโครงสร้างของป่าสนเขา บริเวณโครงการหลวง บ้านวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะโครงสร้างของป่าสนเขา บริเวณโครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร ครั้งนี้ได้ดำเนการศึกษาใน 3 หมู่ไม้ คือ ป่าสนสองใบ ป่าสนสามใบ และป่าสนผสม (ผสมระหว่างสนสองใบและสนสามใบ) เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2530 โดยการวางแปลงตัวอย่างชั่วคราว ขนาด 10x10 m2 ,4x4 m2 และ 1x1 m2 เพื่อเก็บข้อมูลทางนิเวศวิทยาของไม้ใหญ่ ลูกไม้ และกล้าไม้ ตามลำดับขนาดแปลงละ 20 แปลงต่อหนึ่งหมู่ไม้ รวม 60 แปลง แบบการสุ่มตัวอย่างมีระบบ นอกจากนี้ยังได้วางแปลงตัวอย่างขนาด 10x40 m2 จำนวน 1 แปลง ในแต่ละหมู่ไม้เพื่อศึกษาโครงสร้างตามแนวดิ่ง ผลการศึกษาปรากฏว่า ป่าสนสองใบ ป่าสนสามใบ และป่าสนผสม มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ทั้งหมดเท่ากับ 22, 31และ 28 ชนิด ตามลำดับ โดยป่าสนผสมมีค่าความหลากชนิดสูงสุด สวนป่าสนสองใบมีค่าความหลากชนิดน้อยที่สุด สำหรับค่าความหนาแน่นของพรรณไม้ในป่าสนสองใบ ป่าสนสามใบ และป่าสนผสมมีค่าเท่ากับ 255, 270 และ 280 ต้น/เฮกแตร์ ตามลำดับ โดยมีพื้นที่หน้าตัด 25.3208, 20.3158 และ 19.1924 m2 /ha ตามลำดับ ส่วนค่าดรรชนีของความสำคัญนั้น พบว่าไม้พลวง มีค่าดรรชนีความสำคัญสูงสุดในป่าสนสองใบ ไม้เหียง มีค่าดรรชนีความสำคัญสูงสุดในป่าสนผสม และไม้สนสามใบ มีค่าดรรชนีความสำคัญสูงสุดในป่าสนสามใบ พันธุ์พืชพื้นล่างที่มีค่าดรรชนีความสำคัญสูงสุดในป่าสนเขาทุกประเภทคือหญ้า ดรรชนีความคล้ายคลึงของป่าสนสองใบ กับป่าสนผสมมีค่าสูงสุดในขณะที่ดรรชนีความคล้ายคลึงของป่าสนสองใบกับป่าสนสามใบมีค่าน้อยที่สุด การปกคลุมเรื่อนยอดในป่าสนชนิดต่าง ๆ มีค่าระหว่าง 52.88-66.54% มีการจัดการชั้นเรือนยอดเท่ากันคือ 2 ชั้นเรือนยอด โดยมีไม้สนเขาเป็นพันธุ์ไม้ที่มีชั้นเรือนยอดเด่นเพียงชนิดเดียว สภาพการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้สนเขาไม่ดีนัก แม้ว่าจะมีการกระจายของกล้าไม้อย่างเพียงพอแล้วก็ตาม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”