ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ล่าเหยื่อกับสัตว์ที่เป็นเหยื่อ ในป่าเต็งรัง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อทราบชนิดของสัตว์ล่าเหยื่อกับสัตว์ที่เป็นเหยื่อในพื้นที่ป่าเต็งรังของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ในการสำรวจสัตว์จากพื้นที่ 4 ตารางกิโลเมตร ได้พบสัตว์ทั้งหมด 116 ชนิด จำแนกเป็นสัตว์ล่าเหยื่อ 16 ชนิด และสัตว์ที่เป็นเหยื่อ 100 ชนิด นกเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีมากที่สุดในพื้นที่ป่าแห่งนี้ ซึ่งเป็นนกล่าเหยื่อ 13 ชนิด และเป็นนกที่เป็นเหยื่อ 91 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นสัตว์ล่าเหยื่อมีเพียง 2 ชนิด คือ อีเห็นเครือ กับพังพอน และสัตว์เลื้อยคลานซึ่งเป็นสัตว์ล่าเหยื่ออีก 1 ชนิด คืองูจงอาง สภาพแวดล้อมของป่าเต็งรังมีอิทธิพลต่อความชุกชุมของสัตว์ เพราะจะพบสัตว์มากขึ้นทั้งชนิดและจำนวนประชากรในฤดูฝนเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ และในฤดูหนาวเมื่อมีนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามา เมื่อสัตว์ที่เป็นเหยื่อมีจำนวนมากขึ้น สัตว์ล่าเหยื่อก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นตาม อย่างไรก็ตามสัตว์ล่าเหยื่อไม่มีบทบาทต่อการควบคุมประชากรของสัตว์ที่เป็นเหยื่อ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”