การใช้ประโยชน์พันธุ์ไม้ในการสร้างรังของนกปากห่าง ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การใช้ประโยชน์พันธุ์ไม้ในการสร้างรังของนกปากห่าง ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม จังหวัดปทุมธานี ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ไม้ในพื้นที่ ตลอดจนลักษณะการใช้ประโยชน์พันธุ์ไม้ในการสร้างรังของนกปากห่างและพิจารณาประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการสร้างรังของนกชนิดนี้ อันจะเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของนกปากห่างต่อไป การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลเรื่องชนิดพันธุ์ไม้ที่นกใช้เป็นที่สร้างรัง วางไข่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก สำหรับพันธุ์ไม้ใบกว้างและปาล์ม จำนวนลำต่อกอสำหรับไผ่และจำนวนรังนกที่พบในแต่ละต้น นำข้อมูลทั้งหมดมาประเมิณหาเปอร์เซ็นต์การใช้ประโยชน์พันธุ์ไม้ในการสร้างรังของนกปากห่าง ประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างรังของนก และหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกช่วงต่าง ๆ กับปริมาณรังนกที่พบในพันธุ์ไม้ใบกว้างที่เป็นไม้เด่น 2 ชนิด ข่อยและมะขามเทศ สำหรับไผ่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนลำดับกอกับปริมาณรังนกที่พบในกอไผ่ขนาดต่าง ๆ กัน จากการศึกษาพบว่า นกสร้างรังบนกอไผ่มากที่สุดถึง 51.65 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือข่อยและมะขามเทศ พบนกสร้างรังอยู่ 14.25 และ 12.22 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พันธ์ไม้ในการสร้างรังของนกนั้น พบว่าพันธุ์ไม้ที่ให้ประสิทธิภาพในการสร้างรังของนกปากห่างเรียงลำดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุดคือ ไทร สะตือ มะขามเทศ ตะเคียนทอง ซ้อ ข่อย กุ่ม สะเดา ตะโกนา ขี้เหล็ก คางกระถินณรงค์ ตาล เต่าร้าง ทองหลาง ก้ามปู และยูคาลิปตัส ตามลำดับ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกช่วงต่างๆ กับปริมาณรังนกก็พบในพันธุ์ไม้ใบกว้าง 2 ชนิดคือ ข่อยและมะขามเทศนั้นพบว่ามีแนวโน้มในทำนองเดียวกันคือ ต้นไม้ที่มีขนาคเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกใหญ่ขึ้น จะมีนกสร้างรังมากขึ้นด้วย แต่ในกรณีของไผ่นั้นพบว่าการสร้างรังของนกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมากที่สุดเมื่อกอไผ่มีขนาด 54 ลำ แต่เมื่อกอไผ่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่านี้ การสร้างรังของนกกลับลดลงไป และจากการศึกษาครั้งนี้นับรังนกได้ถึง 8,252 รัง คิดเป็นประชากรทั้งหมด 29,445 ตัว
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”