การประเมินประชากรกระต่ายป่าโดยใช้วิธีนีบกองมูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินประชากรกระต่ายป่าโดยวิธีนับกองมูลในพื้นที่ป่าเต็งรังและในป่าปลูก ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ ๐.๑๓๗ เฮกตาร์ 34 หรือ ๐.๐๐๑๓๗ ตารางกิโลเมตร ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ได้กำหนดจำนวนของเม็ดมูลออกเป็น ๑๒ ลักษณะคือ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐-๑๙, ๒๐-๒๙ และ ๓๐ เม็ดขึ้นไปเป็นหนึ่งกองมูล เพื่อทดสอบว่าจำนวนเม็ดมูลเท่าใดจึงจะเหมาะสมต่อการกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อการประเมินประชากร ผลจากการศึกษา พบว่าการกำหนดจำนวนเม็ดมูลที่มี ๗ เม็ดเป็นหนึ่งกองมูล จะมีค่าความถูกต้องน่าพอใจที่สุดที่ระดับความเชื่อมั่น ๕๕ และ ๙๙ เปอร์เซนต์ โดยได้ค่าความหนาแน่นของกระต่ายป่าเฉลี่ย ๑.๑๑, ๐.๘๕ และ ๐.๗๗ ตัว/เฮกตาร์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย ๐.๙๒ ตัว/เฮกตาร์ หรือ ๙๒ ตัว/ตารางกิโลเมตร สำหรับการประเมินประชากรกระต่ายป่าโดยใช้จำนวนเม็ดมูลทั้งหมดที่ถ่ายในหนึ่งวัน จะได้ค่าความหนาแน่นของกระต่ายป่า ๐.๘๒, ๐.๖๓ และ ๐.๕๗ ตัว/เฮกตาร์ ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ย ๐.๖๗ ตัว/เฮกตาร์หรือ ๖๗ ตัว/ตารางกิโลเมตร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”