การประเมินมูลค่าของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย กรณีเป็นแหล่งท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้ประโยชน์จากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยในทางเศรษฐกิจ เช่น การเกษตรและประมงทำให้คุณค่าในการอนุรักษ์พื้นที่นี้ไว้ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวลดลง โดยประโยชน์ในทางเศรษฐกิจสามารถจะแสดงให้เห็นมูลค่าเป็นตัวเงินได้อย่างเด่นชัดกว่าการใช้ประโยชน์ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ก็เพื่อประเมินมูลค่าของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยออกมาเป็นตัวเงิน พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่ามูลค่าดังกล่าวนี้จะเป็นรายได้ตกแก่ท้องถิ่นเท่าใด ซึ่งมูลค่าที่ประเมินได้อาจนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ใด้เหมาะสมยิ่งขึ้น วิธีการศึกษาได้ใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับความเต็มใจที่จ่ายของผู้บริโภคเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ซึ่งมีวิธีการ 2 วิธี โดยวิธีแรกอาศัยพฤติกรรมของความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคเป็นหลักในการวิเคราะห์ ในขณะที่วิธีที่สองนั้นอาศัยทัศนคติของความเต็มใจที่จะจ่ายเป็นหลักในการวิเคราะห์แทน สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา เป็นข้อมูลจากการสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามทำการสัมภาษณ์ผู้ที่มาท่องเที่ยวในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ณ บริเวณที่ตั้งสำนักงาน ในปี พ.ศ. 2530 จำนวน 341 ตัวอย่าง ผลการศึกษาปรากฏว่า มูลค่าในรูปตัวเงินของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยในกรณีเป็นแหล่งท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2530 เมื่อประเมินโดยอาศัยพฤติกรรมของเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภค มีค่า 11.07 ล้านบาท และถ้าอนุรักษ์พื้นที่ไว้ถึง 25 ปี มูลค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 126.19 ล้านบาท เมื่อใช้อัตราหักลดร้อยละ 7.25 และ 83.91 ล้านบาท เมื่อใช้อัตราหักลดร้อยละ 12.50 แต่เมื่อประเมิณโดยอาศัยทัศนคติของความเต็มใจที่จะจ่าย แหล่งท่องเที่ยวนี้จะให้มูลค่าเพียง 3.30 ล้านบาทเท่านั้น และถ้าอนุรักษ์พื้นที่นี้ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวถึง 25 ปีเช่นกัน ก็จะมีมูลค่า 37.62 ล้านบาทเมื่อใช้อัตราหักลดร้อยละ 7.25 และจะมีมูลค่า 25.01 ล้านบาทเมื่อใช้อัตราหักลดร้อยละ 12.50 ส่วนรายได้ที่ตกแก่ท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2530 มีมูลค่าถึง 9.11 ล้านบาทหรือร้อยละ 77.22 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการมาท่องเที่ยว ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”