รูปแบบสังคมพืชป่าดิบแล้ง ที่สะแกราช จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สรายุทธ บุญยะเวชชีวิน

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ลักษณะทางนิเวศน์ของสังคมพืชป่าดิบแล้ง ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ. นครราชสีมา ศึกษาโดยทำการเก็บข้อมูลจากแปลงตัวอย่างขนาด ๒๐ x ๕๐ ม. จำนวน ๒ แปลงต่อหมู่ไม้ จำนวน ๑๒ หมู่ไม้ จากการวิเคราะห์โดยวิธี cluster analysis สังคมพืชป่าดิบแล้งที่สะแกราชสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ สังคม คือ สังคมตะเคียนหิน (Hopea ferred type) และสังคมเคี่ยมคนอง (Shorea henryana type) สังคมตะเคียนหินมีพื้นที่หน้าตัดและความหนาแน่น (dbb ≥ 10 ซม.) มากกว่าสังคมเคี่ยมคนอง (๓๐ ม. เฮกแตร์และ ๕๖๒ ต้น/เฮกแตร์ เปรียบเทียบกับ ๒๖.๔ ม. เฮกแตร์และ ๕๑๔ ต้น/เฮกแตร์) ทั้งสังคมพืชป่าดิบแล้ง สังคมตะเคียนหิน และสังคมเคี่ยมคนอง มีรูปแบบการกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นแบบ negative power curve ในขณะที่พันธุ์ไม้ในสังคมพืชที่มีรูปแบบการกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่าง ๆ กันถึง ๕ รูปแบบ ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่หน้าตัดของสังคมพืชป่าดิบแล้งกับปัจจัยแวดล้อม ปรากฏว่าแมกนีเซียม silt + clay pH ความลาดชัน ความชื้นในดิน ฟอสฟอรัส และความหนาแน่นรวม มีอิทธิพลต่อพื้นที่หน้าตัดของสังคมพืชป่าดิบแล้ง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ