ผลของไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซีสต่อการงอกของเมล็ดพืชเศรษฐกิจสามชนิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลกระทบของไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ที่มีต่ออัตราการงอกของเมล็ดถั่วเขียว ถั่วดำ และผักบุ้ง ได้ทำการทดลองภาคสนามที่สวนป่ายูคาลิปตัสอายุ ๓ ปี บ้านห้วยมะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยใช้ ๒x๒x๒ factorial วางผังการทดลองแบบ RBD มี ๓ ทรีตเมนต์ คือ A: สถานที่เพาะเมล็ด (a1: เพาะเมล็ดในสวนป่ายูคาลิปตัส a2: เพาะเมล็ดนอกสวนป่ายูคาลิปตัส) B: ซากใบยูคาลิปตัส (b1: ใช้ซากใบยูคาลิปตัสคลุมร่องเพาะเมล็ด b2: ไม่ใช้ซากใบยูคาลิปตัสคลุมร่องเพาะเมล็ด) และ C: สถานที่ที่เก็บผิวหน้าดินมาใช้เพาะเมล็ด (c1: เก็บผิวหน้าดินมาจากสวนยูคาลิปตัสที่มีระยะปลูก ๑.๗x๑.๗ ม. C2: เก็บผิวหน้าดินมาจากสวนป่ายูคาลิปตัสที่มีระยะปลูก ๑.๕x๑.๕ ม.) ผลการทดลองปรากฏว่าอัตราการงอกสูงสุดของถั่วเขียว ถั่วดำ และผักบุ้งเกิดขึ้นในทรีตเมนต์ a2xb2xc2, a1xb2xc1 และ a2xb1xc1 ตามลำดับ ทั้งใบสด ซากใบแห้ง และดินในสวนป่ายูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ไม่มีผลในทางลบต่อการงอกของเมล็ดพืชเศรษฐกิจทั้งสาม ผลการทดลองครั้งนี้จึงยืนยันได้อีกทางหนึ่งว่าการที่สวนป่ายูคาลิปตัสบางแห่งไม่มีไม้พื้นล่างขึ้นอยู่นั้น เป็นเพราะการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างพืชพรรณต่าง ๆ มิใช่เป็นเพราะยูคาลิปตัสปล่อยสารพิษออกมายับยั้งการงอกของไม้พื้นล่าง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”