การเปรียบความทนเค็มของไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิสกับไม้โตเร็วบางชนิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาพันธุ์ไม้ที่ทนต่อสภาพความเค็มของเกลือในระดับต่าง ๆ กันนั้น ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและจัดการเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ที่มีธาตุอาหารครบ ระดับความเข้มข้น ๐ (control), ๐.๕, ๑.๐, ๑.๕ และ ๒.๐% รวม ๔ treatments จำนวน treatment ละ ๔ ซ้ำ ๆ ละ ๑ ต้น ผลปรากฏว่ามวลชีวภาพของไม้ทุกชนิดส่วนของ shoot และ root ลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของเกลือมากขึ้น การแตกกิ่ง ใบ และรากลดลง รากสั้นลง อัตราส่วนของ shoot: root ratio ของไม้กระถินยักษ์ กระถินณรงค์ มะม่วงหิมพานต์ และสะเดาลดลงที่ระดับความเค็ม ๑.๕-๑.๐% แต่ที่ระดับความเค็ม ๑.๐-๒.๐% มวลชีวภาพของ shoot และ root ลดลงมากกว่า ระดับความเค็ม ๑.๕-๑.๐% แต่ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนแล้ว shoot: root ratio เพิ่มมากขึ้นส่วน Eucalyptus canaldulensis อัตราส่วน shoot: root ratio เพิ่มมากขึ้น ทั้งระดับความเค็ม ๐.๕-๑.๐% และ ๑.๐-๒.๐% เมื่อเปรียบเทียบกับ control และ E. canaldulensis ไม่สามารถทนต่อสภาพความเค็มได้ที่ระดับ ๒.๐%
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”