อายุที่เหมาะสมของไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส เพื่อทําเยื่อกระดาษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส (Eucalyptus camaldulensis Dehnh.) เป็นไม้โตเร็วที่เจริญเติบโตดีในแทบทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทย จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน จากการทดลองศึกษาปริมาณความชื้นในเนื้อไม้ เปลือก ผลผลิตของชิ้นไม้สับ ลักษณะของเส้นใย การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและการทดลองต้มเยื่อกระดาษโดยกรรมวิธีซัลเฟต และการพิจารณาเปรียบเทียบอายุที่เหมาะสมของไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส สำหรับทำเยื่อกระดาษพบว่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลคเลนซีส อายุ ๓ ปี ๕ ปี ๖ ปี ๑๐ ปี และ ๑๕ ปี มีความเหมาะสมสำหรับผลิตเยื่อกระดาษได้ดี ลักษณะของเส้นใยสั้น ปริมาณเซลลูโลสสูง สภาวะในการต้มเยื่อที่เหมาะสม คือ active alkali ๑๒-๑๖% ระยะเวลาในการต้มเยื่อรวม ๓ ชั่วโมง คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเยื่อสูง สามารถใช้ทำกระดาษเหนียว และเมื่อนำไปฟอกขาว สามารถใช้ทำกระดาษสำหรับพิมพ์และกระดาษสำหรับเขียนได้อย่างดี โดยที่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากปริมาณผลผลิตของเยื่อ ปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการต้มเยื่อ ความยากง่ายในการฟอกเยื่อ รวมทั้งอัตราผลผลิตเนื้อไม้ต่อไร่ต่อปีสูงสุดแล้ว กล่าวได้ว่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ช่วงอายุ ๓-๖ ปีค่อนข้างมีความเหมาะสมสำหรับทำเยื่อกระดาษ และให้ผลตอบแทนสูงกว่าไม้ช่วงอายุ ๑๐-๑๕ ปี ซึ่งหากได้มีการส่งเสริมให้ปลูกไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ในพื้นที่ที่เหมาะสมจะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดดุลการค้าเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบในแต่ละขั้นตอนการผลิตให้สูงขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มการจ้างงานและพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชนได้อีกเป็นจำนวนมาก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”