การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของราษฎรที่มีการถือครองที่ดิน ในอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นการดำเนินงานที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มราษฎรที่มีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ และมีการถือครองที่ดินในเขตป่า การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และสังคม ระดับการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของราษฎรที่มีการถือครองที่ดินในอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 114 ครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.63 อายุเฉลี่ย 56.06 ปี การศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 71.93 มีระยะเวลาในการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 54.02 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 77.19 มีรายได้เฉลี่ย 74,608.60 บาทต่อปี และรายจ่ายเฉลี่ย 78,084.30 บาทต่อปี มีระยะเวลาถือครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติเฉลี่ย 46.61 ปี ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ ร้อยละ 80.70 มีความคุ้นเคยในการร่วมกิจกรรมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้พอสมควร ร้อยละ 54.39 และมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในระดับมาก ร้อยละ 64.04 ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.02 ซึ่งราษฎรมีส่วนร่วมด้านลงมือปฏิบัติมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 และมีส่วนร่วมด้านการวางแผนปฏิบัติน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และความคุ้นเคยในการร่วมกิจกรรมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ซึ่งพบความแตกต่างระหว่างเพศหญิงกับชาย การศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และความคุ้นเคยในการร่วมกิจกรรมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ระดับไม่มีความคุ้นเคยกับคุ้นเคยพอสมควรของกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำผลการศึกษาไปประกอบการพิจารณาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กำหนดรูปแบบการส่งเสริมป่าไม้ และปรับปรุงกิจกรรม เพื่อให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มากขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Aumjiw, S. 2020. Factors Affecting Participation in Forest Resource Conservation of the People in the Area Ban Sahakon 4 Sub-district, Chiang Mai Province. M.S. Thesis, Maejo University. Chiang Mai, Thailand. (in Thai)
Chantarat, S., Sa-ngimnet, B., Attavanich, W., Chenphuengpawm, J. 2019. The Situation of Aging and Productivity and Farming of Thai Agricultural Households. Puey Ungphakorn Institute for Economic Research. Bangkok, Thailand. https://www.pier.or.th/en/abridged/2019/13/, 9 April 2023.
Division of Legal Affairs. 2020. National Park Act, B.E. 2562 (2019). Department of National Park Wildlife and Plant Conservation. Bangkok, Thailand. https://portal.dnp.go.th/, 10 March 2023.
Forestry Research Center. 2021. Criteria for Preparing a National Park Management Plan According to the National Park Act B.E. 2562 (2019). Department of National Park Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Jaichansukkit, P. 2013. How is community relations important?. Market Plus, 6(52): 104-106. (in Thai)
Jamikorn, S. 1983. Analytical Statistics for Social Science Research. Kasetsart University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Krejcie, R.V., Morgan, D.W. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Maepak Subdistrict Administrative Organization. 2020. Basic Information about Maepak Subdistrict Administrative Organization. Maepak Subdistrict Administrative Organization. Phrae, Thailand. https://www.maepak.go.th/, 30 September 2021.
National Forest Policy Drafting Subcommittee. 2020. National Forest Policy. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Office of National Park. 2021. Wiang Kosai National Park. Department of National Park Wildlife and Plant Conservation. Bangkok, Thailand. http://park.dnp.go.th/, 4 September 2021.
Office of the Education Council. 2017. The National Education Plan B.E. 2560–2579 (2017–2036). Prikwarn Graphic CO., LTD., Bangkok, Thailand. (in Thai)
Office of the Secretary to the Sustainable Development Committee. 2021. About SDGs. Office of the National Economic and Social Development Council. Bangkok, Thailand. https://sdgs.nesdc. go.th/, 7 March 2023.
Pichainarong, K., Rattana, K., Pattaratuma, A. 2018. People participation in rehabilitation of Pa Mae Salid - Pong Daeng National Reserved Forest, Wang Prachop subdistrict, Mueang district, Tak province. Journal of Forest Management, 12(23): 88-100. (in Thai)
Prajongpim, K. 2005. Factors Related to People’s Opinions about Land Use Conflict in Tambon Nong Pla Lai, Amphoe Mueang, Changwat Saraburi. M.S. Thesis, Kasetsart University. Bangkok, Thailand. (in Thai)
Prasertsin, A. 2020. Research Instruments in Education and Social Sciences. Chulalongkorn University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Prasitthisarn, T., Kaitpraneet, S., Huamuangkaew, W. 2014. People participation in forest resource conservation at Pa Phu Ra-ngum National Reserved Forest, Waeng Yai and Chonnabot districts, Khon Kaen province. Thai Journal of Forestry, 33(1): 57-65. (in Thai)
Protected Areas Regional Office 13 Phrae (PARO 13 Phrae). 2020. Progress in Land Tenure Problem Solving in Protected Areas, Phrae and Nan Province. Part of Protected Area Rehabilitation and Development, Phrae, Thailand. (in Thai)
Ruthachatranon, W. 2011. Social Science Research Techniques. Kasetsart University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sangkrajang, W. 2010. People Opinions on Land Tenure Problem Solving in Chiang Dao National Reserved Forest According to Land and Forest Resources Management Project, Mae Na Subdistrict, Chiang Mai Province. M.S. Thesis, Kasetsart University. Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sudchaleaw, S. 2013. People Participation in Forest Resource Conservation at Pa Dong Ranaeng National Reserved Forest, Yang Talat and Huai Mek Districts, Kalasin Province. M.S. Thesis, Kasetsart University. Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sukamolson, S. 2012. Priori and posteriori comparisons for a research study. Pasaa Paritat Journal, 27: 52-68. (in Thai)
Suksard, S., Srisakbangtoei, R. 2015. People participation in Mangrove Forest conservation of Kho Than subdistrict community, Tha Chang district, Surat Thani province. Thai Journal of Forestry, 34(1): 101-111. (in Thai)
Suthatto, N. 2015. Opinion of Community-Based Adaptation to Land Utilization in Buffer Zone Around Pha Team National Park, Ubon Rachathani. M.S. Thesis, Kasetsart University. Bangkok, Thailand. (in Thai)
Thai MOOC. 2020. Determination of Confidence Using the Kuder - Richardson’s Method and Cronbach’s Alpha Coefficient. Thailand Cyber University. Bangkok, Thailand. https://www.youtube.com/, 9 October 2021.
Vanichbuncha, K., Vanichbuncha T. 2012. Statistics for Research. Chulalongkorn University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)