การตลาดของผลิตภัณฑ์กฤษณาในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อดิเทพ ปะมะ
สันติ สุขสอาด
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิต การตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ SWOT และการวิเคราะห์พลังกดดันของการแข่งขันทั้ง 5 ของธุรกิจผลิตภัณฑ์กฤษณาในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด


ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ประกอบการ 24 ราย ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย ได้แก่ 1) ชิ้นไม้กฤษณา ราคาอยู่ในช่วง 5,000 – 42,000 บาทต่อกิโลกรัม 2) น้ำมันกฤษณา ราคาอยู่ในช่วง 700 – 4,500 บาทต่อโตร่า 3) น้ำหอมกฤษณา ขนาด 10 มิลลิลิตร ราคาอยู่ในช่วง 200 – 550 บาทต่อขวด และน้ำหอมกฤษณา ขนาด 50 มิลลิลิตร ราคาขวดละ 1,200 บาท และ 4) ธูปกฤษณา ราคาอยู่ในช่วง 200 – 500 บาทต่อห่อหรือกล่อง มีปัญหาการผลิต คือ คุณภาพวัตถุดิบ ระเบียบราชการ และแรงงานและบุคลากร มีการส่งเสริมการตลาด คือ การโฆษณา กิจกรรมส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย และออกบูธงานแสดงสินค้า โดยโครงสร้างตลาดเป็นแบบผู้ขายน้อยราย ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างทางด้านคุณภาพ ราคา ขนาด รูปแบบ และการให้บริการ กลยุทธ์การดำเนินงาน ได้แก่ กลยุทธ์สินค้าคุณภาพดี กลยุทธ์การตีโอบล้อม กลยุทธ์ตีที่ด้านข้าง กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์หลายชนิด กลยุทธ์การป้องกันแบบเคลื่อนที่ และกลยุทธ์สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร การวิเคราะห์พลังกดดันของการแข่งขันทั้ง 5 พบว่า คู่แข่งขันในธุรกิจมีการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ผู้ประกอบการรายใหม่มีความยากในการเข้ามาทำธุรกิจ ผู้จำหน่ายวัตถุดิบเป็นผู้กำหนดราคา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองสูง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงประชาสัมพันธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์กฤษณาอยู่เสมอ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chonlapap, N., Suksard, S., Hoamuangkaew, W., Jarusombuti, S. 2003. An analysis of marketing system of medium density fiberboard industry in Thailand. Thai Journal of Forestry, 22: 16–28. (in Thai)

Department of International Trade Promotion. 2018. Cambodia, Land of Precious Wood, Agarwood. https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view, 26 February 2020. (in Thai)

Kotler, P. 2000. Marketing Management. The Millennium Edition. Prentice Hall Inc, New Jersey, USA.

Nammakuna, C., Suksard, S., Hoamuangkaew, W. 2009. Production and marketing of bamboo products in Lampang province. Thai Journal of Forestry, 28(2): 39 - 47. (in Thai)

Royal Forest Department. 2020. Forests Product Trade License. Timber Forests Product and Chainsaw Permission Division. Permission Office, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Siripatanadilok, S. 2007. Agarwood species and trade. Journal of Forest Management, 1(2): 19 – 31. (in Thai)

Sukawanich, C. 2008. Agarwood, the King of Economic Wood. Media Relations Club, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Vadhanasin, P., Decharin, P. 1999. Strategic Management and Business Policy. 2nd printing. Chulalongkorn University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Wijitphan, P. 2006. Agarwood, the Ten Billion Fragrant Woods. Naka Inter Media Co., LTD., Bangkok, Thailand. (in Thai)