การคาดคะเนปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของการปลูกป่าแบบประณีต ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของหมู่ไม้ และการคาดคะเนปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายปีในอีก 5 ปีข้างหน้าของป่าที่ปลูกด้วยเทคนิคการปลูกแบบประณีต ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยทำการเก็บข้อมูลจากการวางแปลงตัวอย่างถาวรด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกชั้นภูมิตามความหนาแน่นของหมู่ไม้ ได้แก่ สูง ปานกลาง และต่ำ อย่างละ 1 แปลง (40x40 ตารางเมตร) รวมทั้งหมด 3 แปลง และเก็บข้อมูลชนิดพรรณไม้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และความสูงของต้นไม้ทุกต้นในแปลง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015–2022 รวมระยะเวลา 8 ปี นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลผลิตในรูปของมวลชีวภาพ โดยใช้สมการแอลโลเมตรี ของป่าดิบแล้ง คำนวณปริมาณการกักเก็บคาร์บอนตามหลักการของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) 2006 และคาดคะเนปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายปีในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยการสร้างสมการถดถอย
ผลการศึกษา พบชนิดพรรณไม้ในแปลงทั้งหมด 64 ชนิด 58 สกุล 33 วงศ์ ชนิดไม้ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุดสามอันดับแรกได้แก่ พะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) และ ตะแบก (Lagerstroemia floribunda) คิดเป็นร้อยละ 19.58, 11.13 และ 10.54 ต้นต่อไร่ (122.38, 69.56 และ 65.88 ต้นต่อเฮกตาร์) ตามลำดับ ปริมาณมวลชีวภาพสะสม (8 ปี) เท่ากับ 10.21 ตันต่อไร่ (63.81 ตันต่อเฮกตาร์) ปริมาณคาร์บอนสะสม 4.80 ตันคาร์บอนต่อไร่ (30.00 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์) ปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม 17.60 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ (110.00 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกตาร์) คิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 2.20 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ต่อปี (13.75 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกตาร์ต่อปี) ทั้งนี้การคาดคะเนปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอีก 5 ปีข้างหน้า (ค.ศ. 2023–2027) ด้วยสมการถดถอย พบความสัมพันธ์ในรูปของสมการเส้นตรง คือ ปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ = -4.72+(2.63*ปี) ที่ค่า R2 เท่ากับ 0.93 และสามารถคำนวณปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้เท่ากับ 18.95, 21.58, 24.21, 26.84 และ 29.47 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ (118.43, 134.87, 151.31, 167.75 และ 184.18 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Climate Center Meteorological Department. 2022. Climate Change. http://www.climate.tmd.go.th/content/article/9, 3 November 2022.
Duangklang, K., Teejuntuk, S., Maelim, S. 2020. Changing and carbon sequestration of plant community in forest restoration sampling plot at Pakhao-Phuluang, Nakhon Ratchasima province. In The 19th KKU National Graduate Research Conference. 9 March 2018. Khon Kaen University, Khon Kaen. (in Thai)
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2020. Global Forest Resources Assessment 2020. https://www.fao.org/3/ca9825en/ca9825en.pdf, 12 September 2022.
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 2006. IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. International Panel on Climate Change. IGES, Japan.
Kietvuttinon, B., Kannak, P., Pornleesangsuwan, A. 2016. Aboveground biomass and carbon storage estimation of 6-year-old Eucalyptus camaldulensis plantation. In: The 10th Silvicultural Seminar: Plantation towards Thailand's Eco-economy. 1-4 May 2016. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Kongkid, A., Ratcharoen, W. 2016. Evaluation of aboveground biomass and carbon storage of 6-year-old Acacia auriculiformis Cunn. at Surat Thani Silvicultural Research Station. In: The 10th Silvicultural Seminar: Plantation towards Thailand's Eco-economy. 1-4 May 2016. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Nongnuang, S., Pornleesangsuwan, A., Wattanasuksakul, S., Chattecha, P., Khambai, W. 2016. Estimating the stem volume, biomass, and carbon storage of 6-year-old teak plantation in Chiang Mai province. In: The 10th Silvicultural Seminar: Plantation towards Thailand's Eco-economy. 1-4 May 2016. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Pornleesangsuwan, A., Nongnuang, S., Wattanasuksakul, S., Kannak, P. 2021. Estimation of stem volume and biomass of 8 years old Afzelia xylocarpa in plantation. In: Proceedings of the Forest Annual Conference 2021: The 84th Anniversary of Thai Forestry. 28-30 April 2021. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
PTT Reforestation and Ecosystem Institute 2015. Wangchan Forest Learning Center. https://learningcenter.pttreforestation.com/center/2, 10 September 2022.
Sunthornhao, P. 2016. Forest carbon model. In Sunthornhao, P. (Ed.) Eight Decades of Forestry, Science of Life. Forest Research Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University. Siam alphabet printing, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sunthornhao, P. 2018. Potential assessment of 1 million rai reforestation project beyond knowledge development of PTT reforestation and ecosystem institute, phase I, year 2017. Executive Summary Report. Forestry Research Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization). 2022. Knowledge of Greenhouse Gases, http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th, 3 November 2022.
Tsutsumi, T., Yoda, K., Sahunalu, P., Dhanmanonda, P., Prachaiyo, B. 1983. Forest: burning and regeneration. In Kyuma, K., Pairintra, C. (Eds). Shifting Cultivation, An Experiment at Nam Phrom, Northeast Thailand, and It Implications for Upland Farming in the Monsoon Tropics. A report of a cooperative research between Thai Japanese Universities.