การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ป่าชุมชน เป็นหนึ่งในหลักการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกการถือครองที่ดิน ในเขตป่าและการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่เกินขีดจำกัด ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นไปเพื่อศึกษาข้อมูลประชากรด้านเศรษฐกิจ สังคมต่อระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยและระดับการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการบริหารจัดการ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพป่าชุมชนบ้านปางสัก จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT analysis) ด้วยเทคนิค TOWS matrix จำนวน 9 คน และใช้แบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล จำนวน 91 คน โดยใช้ independent t-test, one-way ANOVA และ chi-square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.64 มีช่วงอายุ 30-59 ปี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน ประกอบอาชีพหลัก คือ ด้านเกษตรกรรม อาชีพรอง คือ ด้านการรับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อปีในช่วง 50,001-100,000 บาท รายจ่ายในช่วง 75,001-100,000 บาท มีภาระหนี้สิน 100,000 บาท ขึ้นไป มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้าน มีสิทธิ์การถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร มีระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ระดับมาก เฉลี่ย 3.93 คะแนน มีระดับความคิดเห็นด้านการบริหารจัดการที่ระดับมากที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เฉลี่ย 4.30 มีกระบวนการมีส่วนร่วมที่ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร และมีระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการที่ระดับมากที่สุดร้อยละ 43.96 โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ พบว่า สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกฉุดและมีปัญหา แต่ภายในโดดเด่นพร้อมต่อโอกาสในการประยุกต์ใช้ในอนาคต
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Chaimay, B. 2014. Choosing statistics in data analysis for health science research. Thaksin University Journal, 17(1): 68–76. (in Thai)
Climate Change Management and Coodination Division. 2018. Thailand’s National Adaptation Plan. https://climate.onep.go.th/, 5 August 2023.
Khumsaprom, P. 2004. Socio – Economic Factors Related to People Participation in Forest Fire Control Surrounding Phu Ruea National Park, Changwat Loei. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Kokphon, A. 2009. Khukhit Khumue Kan Mi Suanruam Khong Prachachon sum rap nak borihan thongthin. King Prajadhipok's Institute, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Kornnika, W., Pothitan, R., Laemsak, N. 2022. Community Approach of Participatory Forest Plantation Management: A Case Study of Khlong Takrao Plantation. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Likert, R.A. 1961. New Patterns of Management. McGraw-Hill Book Company Inc., New York. https://www.thaiall.com/blog/tag/likert/, 5 August 2023.
Lorchirachoonkul, V., Atthirawong, W., Leerojanaprapa, K. 2018. SWOT and TOWS Matrix Analysis for Strategic Development to Increase ThaiLaos Silk Supply Chain Efficiency. WMS Journal of Management Walailak University, 7(3): 15–26. (in Thai)
Maliwan, W., Jaiaree, A., Tanpichai, P. 2017. The Participation of Supportings Guideline for Kao Khlung Community Forest Management, Ratchaburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1): 694–708. (in Thai)
Moosigawong, T. 2016. Basic Information Management Center National Reserved Forest No.117 Mae Moosigawong – Mae Poen, Nakhon Sawan Province. Forest Resource Management Office No.4 Nakhon Sawan Branch. https://www.forest.go.th/nakhonsawan/blog/, 2 October 2023.
Nakhon Sawan Art and Cultural Office. 2017. SWOT Analysis Guide. http://artculture.nsru.ac.th/, 25 august 2023.
Nitichaowakul, T. 2022. SWOT analysis with statistics. Thai Journal of Quality of Life and Law, 18(1): 108–120. (in Thai)
Phommaphope, K. 2019. Guidelines for Forest Resources Utilization in The Demonstration Forest of The National University of Laos, Laos People’s Democratic Republic. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Somsri, W. 2014. Administration of Phra Phutthabat Noi Community Forest, Amphoe Kaeng Khoi, Saraburi Province by Community Participation. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sub-district Administrative Organization of Maepern. 2023. Local Development Plan 2023 - 2027. https://www.maepern.go.th/home /, 10 May 2023.
Tongkam, P. 2010. People Participation in Ban Nong Kwang Community Forest Conservation at Nayang Subdistrict, Phichai District, Uttaradit Province. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Tuntavanich, P., Jindasri, P. 2018. The Real Meaning of IOC. Journal of Educational Measurement, Mahasarakham University, 24(2): 3–12. (in Thai)
Vanichbuncha, K. 2007. Statistics of Research. Chulalongkorn University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. New York Harper & Row, New York, USA.