การมีส่วนร่วมของเครือข่ายแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกเครือข่ายฯ จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยวิเคราะห์การมีส่วนร่วม 5 กิจกรรม ประกอบด้วย การกำหนดแผนการจัดการไฟป่า การดำเนินกิจกรรมชิงเก็บ ลดเผา การลาดตระเวนตรวจหาไฟป่า การดับไฟป่า และการบริหารจัดการไฟป่าขององค์กร กำหนดการมีส่วนร่วมออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ขั้นให้ข้อมูลข่าวสาร ระดับที่ 2 ขั้นรับฟังความคิดเห็น ระดับที่ 3 ขั้นเข้ามามีบทบาท ระดับที่ 4 ขั้นสร้างความร่วมมือ และระดับที่ 5 ขั้นเสริมอำนาจ
ผลการศึกษา พบว่า เครือข่ายฯ มีระดับการมีส่วนร่วม ระดับที่ 1 ร้อยละ 45.19 ระดับที่ 2 ร้อยละ 23.25 ระดับที่ 3 ร้อยละ 26.71 ระดับที่ 4 ร้อยละ 4.85 สำหรับระดับที่ 5 ไม่มีกิจกรรมการมีส่วนร่วม สามารถกำหนดแนวทาง 5 แนวทาง ดังนี้ 1) หน่วยงานไฟป่าควรสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 2) เสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ โดยสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ที่ทันสมัย 3) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ควรร่วมมือกับภาคประชาสังคม เพื่อจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายฯ 4) การรับฟังความคิดเห็นในการเสนองบประมาณของเครือข่ายฯ และ 5) เปิดโอกาสให้เครือข่ายฯ เข้ามามีส่วนร่วมทุกระดับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นแนวทางในการสนับสนุนหรือส่งเสริมเครือข่ายฯ อื่นต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Akaakara, S. 2000. Forest Fire Control in Thailand. Forest Fire Control Office, Royal Forest Department, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Boonkhem, J., Whangmahaporn, P. 2020. A pattern of people’s participation in the Wildfire Management of the Forest Conservation Area in the National Park of Chiang Mai province. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 20(1): 92-104. (in Thai)
Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 2021.Historical Forest Fire Statistics. https://portal.dnp.go.th/Content/firednp?contentId=15705, 25 January 2022.
Eden, C., Ackermann, F. 1998. Making Strategy: The Journey of Strategic Management. London, UK.
Foundation for Sustainable Development in the North. (n.d.). Guidelines Preparation of a Fire Management Plan and Fuel Management Participate at the Local Level. Foundation for Sustainable Development in the North, Chiang Mai, Thailand. (in Thai)
Gomolkongyou, S. 2018. A Guide to Networking and Public Participation in Defense and Solve the Problem of Forest Fires and Smog. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Kaitpraneet, S. 1983. Forest Fire and Control. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Krejcie, R.V., Morgan, D.W. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607–610.
Protected Area Regional Office 16 (Chiang Mai). 2022. Guidelines for Creating Forest Fire and Haze Solution Network. Protected area regional office 16 (Chiang Mai), Chiang Mai, Thailand. (in Thai)
Taweerat, P. 1997. Research Methods in Medicine and Social Sciences, 7th ed. Bureau of Testing and Friends, Srinakharinwirot University Prasarnmit Campus, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Unthongdee, N. 2014. Public Participation in Prevention and Solution of Haze Air Pollution in Mae Hong Son Province. M.S. Thesis, National Institute of Development Administration, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Wanthongchai, K. 2023. Forest Fires Ecology and Management. Department of Agriculture and Cooperatives, Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi, Thailand, pp. 10-93. (in Thai)
Wakate, N. 2008. People’s Participation in Forest Fire Control at Ban Pangpaka, Mae Ram Subdistrict, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Independent Study, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand. (in Thai)
Worldwide Fund for Nature Thailand. 2021. Forest Fire Situation in Thailand. https://www.wwf.or.th/our_news/our_blog_th/fire_forest_scp/, 25 January 2022