การทดสอบสายต้นกระถินลูกผสม ณ สวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

โสภิดา ยี่สุ่นสี
สมพร แม่ลิ่ม
วาทินี สวนผกา
นิเวศน์ ปานรอด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอัตราการเติบโต อัตราการรอดตาย และลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางประการของสายต้นกระถินลูกผสม (กระถินเทพาและกระถินณรงค์) ที่ปลูกทดสอบสวนป่าลาดกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา และคัดเลือกสายต้นที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของสวนป่าลาดกระทิง โดยใช้กระถินลูกผสมทั้งหมด 37 สายต้น ซึ่งคัดเลือกจากธนาคารสายต้นของสวนป่าลาดกระทิง จำนวน 27 สายต้น (Clone No. 1-27) และ จำนวน 10 สายต้น (Clone No. 31-40) จากกรมป่าไม้ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete block design: RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ แต่ละซ้ำประกอบด้วย 37 สายต้น ทำการวัดการเติบโต ทุก ๆ 6 เดือน และประเมินลักษณะรูปทรง (การแตกง่ามของลำต้น ความตรงของลำต้น และขนาดของกิ่ง) เมื่ออายุ 24 เดือน


ผลการศึกษาพบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเฉลี่ยที่อายุ 6, 12, 18, และ 24 เดือน มีค่าเท่ากับ 1.40±0.57, 4.19±1.07, 6.23±1.40 และ 8.08±1.68 เซนติเมตร ตามลำดับ ความสูงเฉลี่ยที่อายุ 6, 12, 18, และ 24 เดือน มีค่าเท่ากับ 2.50±0.45, 4.22±0.76, 6.81±1.24 และ 8.96±1.40 เมตร ตามลำดับ อัตรารอดตายเฉลี่ยที่อายุ 6, 12, 18, และ 24 เดือน มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 91.34±9.42, 93.92±6.94, 88.30±11.33 และ 86.97±11.72 ตามลำดับ และการศึกษารูปทรง ที่อายุ 24 เดือน พบว่า การแตกง่ามของลำต้น (คะแนนเต็ม 4 คะแนน) มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.31±0.67 ความตรงของลำต้น (คะแนนเต็ม 6 คะแนน) มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.24±1.17 และขนาดของกิ่ง (คะแนนเต็ม 4 คะแนน) มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.07±0.92 ซึ่งจากผลการศึกษาไม้กระถินลูกผสม ที่ได้มาจากกรมป่าไม้แสดงลักษณะที่ดี ยกเว้นขนาดของกิ่ง เมื่อจัดลำดับคะแนนโดยใช้เกณฑ์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ความสูง อัตราการรอดตาย การแตกง่าม ความตรง และขนาดของกิ่ง พบว่า 5 ลำดับสายต้นที่ดีที่สุดจากการทดสอบในแปลงปลูกที่สวนป่าลาดกระทิง ได้แก่ Clone No. 34, 33, 31, 37 และ 35 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

โสภิดา ยี่สุ่นสี, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2 กรมป่าไม้

References

Boonrod, R., Suanpaga, W., Maelim, S. 2016. Effect of spacing on growth and biomass of 22-year-old Pterocarpus macrocarpus Kurz at Ratchaburi Silvicultural Research Station, Pak Tho district, Ratchaburi province. In: The 10th Silviculture Seminar. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. pp. 60-71. (in Thai)

Haruthaithanasan, M., Haruthaithanasan, K., Thanawat, A., Phromlert, S., Baysangchan, A. 2010. The potential of Leucaena leucocephala, Eucalyptus camaldulensis, Acacia mangium and Acacia spp. (mangium x auriculaeformis) as plantation crops for. In: The 48th Kasetsart University Annual Conference: Plants. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. pp. 599-607. (in Thai)

Jumwong, N. 2006. Site Potential Evaluation of Acacia mangium Willd. Plantation Area in Trat Province, Thailand. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Kliangsaard, T. 2013. Growth and Stem form of 3-year-old Acacia Hybrid (Acacia mangium x Acacia auriculaeformis) on an abandoned mine at the Phang Nga Silvicultural Research Station. Takua Pa District Phang Nga Province. Senior project, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Kha, L.D. 2000. Study on natural hybrids of Acacia mangium and A. Auriculformis in Vietnam. Journal of Tropical Forest Science, 12(4): 794-803.

Mishra, D.K. 2009. Selection of candidate plus phenotype of Jatropha curcas L. using method of paired comparisons. Biomass & Bioenergy, 33: 542-545.

Pattanasupong, A. 1993. In Vitro Propagation and Rhizobium Nodulation of Acacia mangium Willd. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Pinyopusarerk, K. 1990. Acacia auriculiformis: An Annotated Bibliography. Winrock International-F/FRED and ACIAR, Bangkok, Thailand

Pipatwattanakul, D., Sunthorncharoennon, N., Maelim, S., Bunyuen, S. 2010. Genetic Diversity Conservation of Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.: Genetic Resources of Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. National Research Council of Thailand, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Thepchatri, T., Diloksumpun, S., Haruthaithanasan, M. 2018. Clonal variations in growth and some leaf functional traits of Acacia hybrid in Fang district, Chaing Mai province. Thai Journal of Forestry, 37(1): 84-95. (in Thai)

Tedsorn, N., Luangviriyaseng, W. 2016. Variation in growth and morphological characteristics of Eucalyptus pellita, In: The 10th Forestry Seminar. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. pp. 13-21. (in Thai)

Ungwichian, I., Chandrasiri, S., Supattanakul, W., Yantasart, K. 1985. Acacia auriculiformis an Interesting Fast-growing Plant. Thailand Institute of Scientific and Technological Research, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Wattanasuksakul, S., Pianhanurak, P., Pianhanurak, C., Krongkijsiri, W., Chuayna, C. 2016. Evaluation of 7-year-old teak (Tectona grandis L.f.) in full-sib progeny test. In: The 10th Silvicultural Seminar. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. pp. 22-32. (in Thai)