แนวทางการจัดการไฟป่าในป่าชุมชน ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดไฟป่า การจัดการไฟป่า ระดับการมีส่วนร่วม และความรู้เกี่ยวกับไฟป่าของประชาชนในตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาการจัดการไฟป่า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 320 ตัวอย่าง จากจำนวนประชากร 1,598 ครัวเรือน โดยใช้สูตรของ Yamane (1973) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม SWOT analysis และ TOWS matrix
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุการเกิดไฟป่าคือการลุกลามจากการเตรียมพื้นที่ทางการเกษตรของเกษตรกรที่อยู่รอบป่าชุมชน คิดเป็นร้อยละ 86.60 การจัดการไฟป่าของประชาชนโดยการป้องกันไฟป่า การเตรียมความพร้อมในการดับไฟ การตรวจหาไฟ การดับไฟป่า การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการไฟป่า ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีคะแนนเฉลี่ย 1.84 คะแนน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติ และด้านการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน มีคะแนนเฉลี่ย 1.79, 1.92 และ 1.82 คะแนน ตามลำดับ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไฟป่าในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.30 สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม มี 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การอบรมพัฒนาให้ประชาชนมีความรู้ทางด้านทฤษฎีไฟป่าและการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาแผนการจัดการ มาตรการเกี่ยวกับไฟป่า 3) พัฒนาการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ และ 4) พัฒนาการติดตามและประเมินผลการทำงานในกิจกรรมดำเนินการต่าง ๆ ของประชาชน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Akaakara. S., 2000. Forest Fire Control Division. Community of Agricultural Cooperatives of Thailand, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Brown, A.A., Davis, K.P. 1973. Forest Fire: Control and Use. McGraw-Hill, New York, USA.
Chaiyasit, N., Kaitpraneet, S., Tanakanjana Phongkhiep, N. 2013.People participation in forest fire control at Mae Tuen plantation, Thong Far subdistrict, Ban Tak district, Tak province. Thai Journal of Forestry, 32(2): 70-79. (in Thai)
Community Forest Act B.E. 2019. 2019. The Government Gazette, Volume No. 136, Chapter 71. Bangkok, Thailand, pp.71–103.
Forest Fire Control Section. 2022 Active Fire Hotspot. https://wildfire.forest.go.th/firemap/index.html, 10 September 2022.
Hutanuwatr, N., Hutanuwatr N. 2002. SWOT: Strategic Planning for Community Enterprises. 5th ed. Local Development Institute, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Narat, P., Kaitpraneet, S., Wiriya, K. 2014. People participation in forest fire control at Ban Non Chat Community Forest Area, Dong Kheng sub-district, Nong Song Hong district, Khon Kaen province. Thai Journal of Forestry, 33(1): 66-75. (in Thai)
Niyom, W., Rattana, R., Permpoon, K. 2007. Participatory Lessons in Watershed Area Management: Forest Love Water Rak Land Project, Field Department. Department of Conservation, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Prapapen. S. 1983. Control: Change and School as Normal. Odeon Chevrolet Publishing, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Samchusri, S., Niyom, W., Rattana, K. 2013. People participation in forest fire protection for a forest development and swamp ecosystem under the Royal Pakpanang Watershed Project, Suanluang subdistrict, Chaloem Phra Kiat district, Nakhon Si Thammarat province. Thai Journal of Forestry, 31(3): 75-84. (in Thai)
Sirorot, P. 2003. Public Participation Handbook. APA Review Volume 5, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Taweerat, P. 1997. Research Methods in Medicine and Social Sciences. 7th ed. Bureau of Testing and Friends, Srinakharinwirot University Prasarnmit Campus, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Wanthongchai, K. 2023. Forest Fires ecology and Management. Department of Agriculture and Cooperatives, Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi, Thailand, pp. 10-93. (in Thai)
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis, 3rd ed. Harper and Row, New York, USA.