ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะที่ต้นทาง ตำบลบางไทร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษาวิจัยนี้เป็นไปเพื่อศึกษาสถานภาพของประชากร การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะที่ต้นทาง โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นบนพื้นฐาน ตามกรอบแนวคิด การค้นคว้าและทฤษฎี และหาความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 ครัวเรือนเป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.11 ช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป สถานภาพเป็นผู้อาศัย จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3–4 คน ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน 10 ปีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพประมง/รับจ้างทั่วไป/และเกษตรกรรม รายได้ต่อเดือน 10,000–20,000 บาท ค่าเฉลี่ยสูงสุดของพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะชุมชนคือด้านการรวบรวมและจัดเก็บขยะมูลฝอย และด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 2.08 และ 2.88 ตามลำดับ และความคิดเห็นต่อศักยภาพของชุมชนคือ มีพื้นที่เพียงพอในการจัดการขยะที่ต้นทาง และข้อจำกัดในการจัดการขยะที่ต้นทางคือพบปัญหาขยะข้างทางเป็นจำนวนมาก จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยด้านอายุ ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน ระดับการศึกษา อาชีพ รวมถึงความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการขยะที่ต้นทาง และพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะที่ต้นทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะควรจัดอบรมให้ความรู้สำหรับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง/รับจ้างทั่วไป/และเกษตรกรรมในการคัดแยกขยะมูลฝอย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Chalongchaisit, P. 2015. People's Behavior and Understanding in Waste Management Case Study: Condominium in Huai Khwang District. Thammasat University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Khedklinhom, S. 2019. Guidelines for Public Participation in Municipal Solid Waste Management: Nakhon Si Thammarat Municipality. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, Nakhon Si Thammarat, Thailand. (in Thai)
Likert, R.A. 1961. New Patterns of Management. New York. McGraw-Hill Book Company Inc. https://www.thaiall.com/blog/tag/likert/, 5 August 2023.
Pollution Control Department. 2021. National Solid Waste Management Master Plan (2017-2027). Bangkok, Thailand. (in Thai)
Ratchatranon, W. 2014. Research Techniques in Social Science. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Registration Management Office Department of Provincial Administration. 2023. Population of Bang Sai Sub-district, Mueang District, Surat Thani Province. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/display Data, 3 January 2023.
Sunthornsamai, W. 2010. Marketing Research and Marketing Information System, 2nd ed. Technology Promotion Association, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Tuntavanich, P., Jindasri, P. 2018. The real meaning of IOC. Journal of Educational Measurement, Mahasarakham University, 24(2): 3-12. (in Thai)
Vanichbuncha, K. 2007. Statistics of Research. Chulalongkorn University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Yamane, T. 1973. Statistics: an Introductory Analysis. New York Harper & Row, New York, USA.