การมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ: กรณีศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พัทธพล ยั้งประยุทธ์
สุภัทรา ถึกสถิตย์
พัชเรศร์ ชคัตตรัยกุล

บทคัดย่อ

พื้นที่ชุ่มน้ำให้ประโยชน์และมีบทบาทหน้าที่อันหลากหลายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่พื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกถูกคุกคามเพิ่มมากขึ้นและนำไปสู่การสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนถือว่ามีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาลเมืองกาญจนบุรีและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ครัวเรือน จำนวน 391 ครัวเรือน จากครัวเรือนของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ F-test ที่ระดับนัยความสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41–50 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ 10,000–20,000 บาทต่อเดือน และมีระยะเวลาที่อาศัยเฉลี่ย 34.13 ปี ส่วนในด้านการอนุรักษ์ พบว่า ส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ร้อยละ 69.3 แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ ร้อยละ 92.8 และไม่เคยได้รับการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ ร้อยละ 65.0 ซึ่งส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าแม่น้ำแควใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ร้อยละ 29.9 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ในระดับมาก (equation = 6.86) เช่นเดียวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในระดับมาก (equation = 11.01) ขณะที่การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (equation = 2.61) และการได้รับบริการทางนิเวศจากพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.50) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ ได้แก่ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพของแม่น้ำแควใหญ่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ และการได้รับบริการทางนิเวศจากพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำผลการศึกษาไปประกอบการพิจารณาการจัดทำแผนการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chantre, N., Chantre, P. 2018. People’s participation in mangrove forest conservation and restoration for biodiversity development: A case study of Bang Chan Community. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 12(3): 201-207. (in Thai)

Convention on Wetlands Secretariat. 1971. Convention on Wetlands of International Importance Especially as Waterfowl Habitat. https://www.ramsar.org/official-documents, 1 July 2023.

Hydro-Agro Informatics Institute. 2012. Database 25 Watersheds. https://tiwrm.hii.or.th/web/index.php/knowledge/128-hydro-and-weather/663-25basinreports.html, 9 July 2023. (in Thai)

Jamikorn, S. 1983. Analytical Statistical for Social Science Research. Kasetsart University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Lerdburoos, Y. 2014. Biodiversity of Fish and Ecological Potential in the Merging Area of Kwae Yai, Kwae Noi and the Maeklong River, Kanchanaburi Province. National Research Council of Thailand, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Millennium Ecosystem Assessment. 2005. Ecosystems and Human Well-being: Synthesis. Island Press, Washington DC., USA.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). 1999. Wetlands in The Central Region and the East of Thailand. Bangkok, Thailand. (in Thai)

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). 2020. Participatory Wetland Management Handbook. Phaya Printing and Publishing, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Phommasak, V., Niyom, W. Rattana, K. 2013. People participation in conservation of wetlands at Bueng Kiat-ngong Prathumphone district, Champasak province, Lao PDR. Journal of Forest Management, 7(13): 14-26. (in Thai)

Prasertsin, A. 2020. Research Instruments in Education and Social Sciences. Chulalongkorn University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Prasitthisarn, T., Kaitpraneet, S., Huamuangkaew, W. 2014. People participation in forest resource conservation at Pa Phu Ra-ngum National Reserved Forest, Waeng Yai and Chonnabot districts, Khon Kaen province. Thai Journal of Forestry, 33(1): 57-65. (in Thai)

Pulpol, S., Rattana, K. 2016. People participation in Thalay Noi watershed area conservation: A case study of Kohtao sub-district, Paphayom district, Phatthalung province. Journal of Forest Management, 10(19): 66-76. (in Thai)

Sukloy, T., Mungkung, N. 2006. Factor affecting community’s participation in forest resource conservation: Klongsai village, Wang Nam Khiao sub-district, Wang Nam Khiao district, Nakhon Ratchasima province. Kasetsart University Journal of Economics, 13(1): 15-26. (in Thai)

Vanichbuncha, K. 2006. Statistics for Research. Chulalongkorn University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis, 3rd ed. Harper International Edition, Tokyo, Japan.