การประยุกต์การรับรู้ระยะไกลเพื่อศึกษาการบุกรุกพื้นที่ป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ศุภาวรรณ อุดมสิน
อสมาภรณ์ สิทธิ
วีระภาส คุณรัตนสิริ

บทคัดย่อ

ปัญหาความขัดแย้งการใช้ที่ดินของชุมชนโดยรอบป่าอนุรักษ์ นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากการบุกรุกและการถือครองที่ดินโดยผิดกฎหมายในปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นประสบปัญหาการบุกรุกและลักลอบเข้าถือครองที่ดินดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ ค.ศ. 2006 ถึงปัจจุบัน มีคดีบุกรุกรวมทั้งสิ้น 895 คดี จำนวน 1,226.39 เฮกตาร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่าง ปี ค.ศ. 2002 2014 และ 2022 และศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่างปี ค.ศ. 2002–2022 โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศออร์โธสีเชิงเลข โครงการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดาวเทียม Landsat 8 OLI ร่วมกับการใช้เทคนิคการแปลตีความด้วยสายตาเพื่อศึกษาร่องรอยการบุกรุกพื้นที่ป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ผลการศึกษา พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี ค.ศ. 2002 2014 และ 2022 มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด ร้อยละ 83.79 80.89 และ 80.69 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่าง ค.ศ. 2002–2014 และค.ศ. 2014–2022 พบว่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่แหล่งน้ำ มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ร้อยละ 17.68  19.11 และ 19.11 ตามลำดับ และช่วง ค.ศ. 2014–2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54  0.34 และ 0.34 ตามลำดับ ในทางกลับกัน พื้นที่ป่า และพื้นที่เบ็ดเตล็ด มีจำนวนพื้นที่ลดลง ร้อยละ 3.35 และ 56.72 ตามลำดับ และระหว่าง ค.ศ. 2014–2022 ลดลง ร้อยละ 0.36 และ 3.43 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาร่องร่อยการบุกพื้นที่ป่าไม้ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2002–2014 มีการบุกรุก จำนวน 739.71 เฮกตาร์
ค.ศ. 2014–2022 มีการบุกรุก จำนวน 951.22 เฮกตาร์ ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่การตรวจสอบ ติดตามร่องรอยการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chuchip, K. 2018. Remote Sensing Technical Note No.3. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (In Thai)

Congaltion, R.G., Green, K. 2019. Assessing the Accuracy of Remotely Sensed Data: Principles and Practices, 3rd eds. Boca Roton, FL, Taylor & Francis Group, Florida, USA.

Deethongon, A., Kamanon, S., Satukarn, T. 2023. Management Plan for the Tai Rom Yen National Park (2023–2027). National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 2022. Report Summarizing Statistics of Causes Related to Forestry. https://portal.dnp.go.th/Content?contentId=2134, 31 December 2023. (in Thai)

Department of Provincial Administration. 2013. Demographic Statistics 2013. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view, 31 December 2023. (in Thai)

Khunrattanasiri, W. 2020. Satellite Imagery for Natural Resource Survey. Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (In Thai)

Kanin, N. 2021. Land Use Change in The Conservation Area Doi Pha Klong National Park, Phrae Province. M.S. Thesis, Maejo University, Phrae, Thailand. (in Thai)

Land Development Department. 2022. Landuse Map Definition. https://webapp.ldd.go.th/lpd/node_modules/file/Definition_landuse/Definition_landuse.pdf, 4 February 2022. (in Thai)

Losiri, C. 2019. Handout P.M.216 Remote Sensing 1. Srinakharinwirot University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)

National Council for Peace and Order. 2014a. No. 64/2014: Suppressing and Stopping Encroachment and Destruction of Forest Resources. https://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=b938eb6b-d85b-40b1-8919-7fcd4791323e.pdf, 31 December 2023. (in Thai)

National Council for Peace and Order. 2014b. No.66/2014: Additional Agencies for Suppression Temporarily Stop Encroachment and Destruction of Forest Resources and Operational Policies in The Current Situation. https://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=8b1de3f3-7e66-4a35-ac79-75675178df56.pdf, 31 December 2023. (in Thai)

Office of the State Land Management. 2003. Solving the Problem Encroachment of Land to the State. Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Pakat, A., Chouibumroong, B., Janekarnwanit, S. 2023. A study of change in forest area during 2013–2022 in the Sri Lanna National Park, Chiang Mai province. Thai Journal of Forestry, 42(2): 50-62.

Pharahan, C. 2021. An Applicational of Remote Sensing to Investigate Forest Encroachment in the Tablan National Park, Thai samakkhi Sub District, Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province. M.S. Thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Puangkaew. N., Salae. R. 2016 Forest Area Changes in Tonenga Chang Wildlife Sanctuary. In: The 7th Hatyai National and International Conference. Hatyai, Thailand, pp. 1377-1387 (in Thai)

Royal Forest Department. 2022. Final Report of Forest Area Information Project 2022. Royal Forest Department, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Sathornkit, R. 2017. Legal Problems on Possession of Land for Use in the Conservation Forest Areas. M.S. Thesis, Dhurakij Pundit University, Bangkok, Thailand. (in Thai)