การพัฒนาระบบเก็บข้อมูลพรรณไม้เพื่อการจัดการพื้นที่สีเขียว และการอนุรักษ์รุกขมรดกในพื้นที่เขตพระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลพรรณไม้ในเขตพระนคร 2) จัดเก็บฐานข้อมูลพรรณไม้ในเขตพระนคร 3) หาแนวทางอนุรักษ์รุกขมรดกและการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตพระนคร ผลการวิจัยพบว่า ระบบเก็บข้อมูลพรรณไม้พัฒนาผ่านโปรแกรมประยุกต์ Google Form และส่วนต่อประสานบน Google Sheet สามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนที่ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข และตรวจสอบการแสดงผลข้อมูลและบริหารจัดการกับข้อมูลพรรณไม้ได้ง่าย ผลการจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ในถนน 9 สาย พบว่ามีต้นไม้จำนวน 1,243 ต้น พรรณไม้ที่พบ 17 ชนิด ชนิดที่พบ 5 อันดับแรก คือ ประดู่ มะขาม อินทนิล ชมพูพันธ์ทิพย์ และ พิกุล ถนนที่มีจำนวนต้นไม้มากที่สุดคือ ถนนราชดำเนิน 710 ต้น (ร้อยละ 57.21) รองลงมาคือ กรุงเกษม 125 ต้น (ร้อยละ 10.06) พระอาทิตย์ 116 ต้น (ร้อยละ 9.33) ประชาธิปไตย 97 ต้น (ร้อยละ 7.80) พระสุเมรุ 2 ต้น (ร้อยละ 4.18) พระจันทร์ 42 ต้น (ร้อยละ 3.38) ตะนาว 39 ต้น (ร้อยละ 3.14) สามเสน 37 ต้น (ร้อยละ 2.98) และ เฟื่องนคร 25 ต้น (ร้อยละ 2.01) ผลการคัดเลือกรุกขมรดก ได้แก่ ต้นตะเคียน ริมคลองหลอด หลังวัดพระราชบพิธฯ และต้นโพธิ์อายุกว่า 200 ปี ภายในวัดชนะสงคราม เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และแนวทางในการจัดการพื้นที่สีเขียว คือ การสำรวจความปลอดภัยของต้นไม้ การปรับปรุงภูมิทัศน์ การจัดทำรหัสประจำต้นไม้ การมีเครือข่ายออนไลน์เพื่อแจ้งข่าวสารให้แก่ชุมชนข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรมีจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ให้เป็นระบบและทันสมัย และควรขยายพื้นที่ในการศึกษาในถนนของเขตพระนครทั้ง 36 เส้น และการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวรุกขมรดกเพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้ความเป็นมาและเห็นในคุณค่าของต้นไม้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Arayanimitsakul, J. 2015. A study of perennial plants along roadsides and canals in the Rattanakosin area during the reign of King Rama V. Academic Journal of Architecture, 64 (1): 19-32.
Bangkok Metropolitan Administration.2020. The Summary Report of 9 Green Areas in Bangkok. http://203.155.220.118 /green-parks-admin/report_year/parks/ print17_new.php? park_year=2565, 16 March 2022. (in Thai).
Chanthavorn, K., Warit, C. 2020. Application of QR code technology to prepare school botanical garden plant registry. Journal of Technology Management Innovation Rajabhat Mahasarakham University, 7 (1): 8-19. (in Thai)
Coates, P.A. 2006. American Perceptions of Immigrant and Invasive Species: Strangers on the Land. University of California Press, USA.
Pochanachan, P., Pongpradit, P. 2019. Environmental and heritage conservation of large street trees in Dusit district, Phra Nakhon district, and Samphanthawong district of Bangkok. Advance Sciences Journal, 19(1): 1-17. (in Thai).
Sethawat, S. 2015. Storage and Searching for Plant: Case Study Plant in Chomthong District. M.S. Thesis, Silpakorn University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sripetchdi, N. 2016. And the Trees in the City will No Longer Be Cut: Way Magazine. https://waymagazine.org/tree-surgeon-solution/, 6 January 2024. (in Thai).
Tanunchai, T., Rungdetsuan, S., Bunyaritthanon, N., Promman, T. 2022. Cultural heritage assets along cultural tourism routes: A case study of Yang-Noeng, Nong-Phueng and Saraphi subdistrict, Saraphi district, Chiang Mai province. Journal of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, 41(3): 29-45. (in Thai).
Thairath Online. 2019. Tamarind Sanam Luang. https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1471804, 22 December 2023. (in Thai)
Thaiutsah, B., Jumroenpruek, M., Pipatwattanakul, D., Sukhachalerm, D. 2000. Trees on the Streets of Bangkok. Bangkok Metropolitan Administration, Bangkok, Thailand. (in Thai).
Wongchampa, P., Phramaha-Siwagonr P. 2018. The Enhancement on Community Network in Conservation, Utilization and Benefit Sharing from the Community Forest in Ing Basin in Phayao-Chiang Rai Province. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phayao Campus, Phayao, Thailand. (in Thai).