การศึกษาประสิทธิภาพในการประเมินผลผลิตยูคาลิปตัส สายต้น K58 โดยตัวแปรขนาดปกคลุมเรือนยอดจากอากาศยานไร้คนขับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบถึงผลผลิตของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งการสำรวจทรัพยากรป่าไม้มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบประเมินผลผลิตยูคาลิปตัส สายต้น K58 อายุ 5 ปี ได้แก่ ปริมาตร มวลชีวภาพ และน้ำหนักสด โดยข้อมูลการสำรวจภาคสนาม ได้แก่ ความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ตำแหน่งของต้นไม้ ขนาดปกคลุมเรือนยอด และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการประเมินผลผลิตยูคาลิปตัส สายต้น K58 อายุ 5 ปี โดยตัวแปรขนาดปกคลุมเรือนยอดจากอากาศยานไร้คนขับ
ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นระหว่างผลผลิตของยูคาลิปตัส สายต้น K58 และข้อมูลภาคสนาม สามารถสร้างตัวแบบประเมินผลผลิต ดังนี้ V = 0.000128(DBH2.236)(Ht0.392) (R2 =0.978) Bm = 0.059020108(DBH2.220)(Ht0.609) (R2 =0.976) และW = 0.078523563(DBH2.202)(Ht0.651) (R2 =0.977) และจากการวิเคราะห์สมการระหว่างผลผลิตของยูคาลิปตัส สายต้น K58 และขนาดปกคลุมเรือนยอดจากภาพถ่ายทางอากาศ สามารถเขียนได้ ดังนี้ V = 0.005 + 0.015Ap (R2 = 0.808) Bm = 13.489(Ap0.968) (R2 = 0.845) และ W = 19.396(Ap0.969) (R2 = 0.845)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Borisuthipongsakul, Y. 2013. Contract Farming: Thai Demand for Eucalyptus Wood. Department of Foreign Trade. Bangkok, Thailand.
Duangsathaporn, K., Prasomsin, P. 2003. Forest Mensuration I. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Hnukaew, M., Poolsiri, R., Haruthaithanasan, M., Chompoowiset, P. 2015. Yield and nutrient contents of various 5-year-old Eucalyptus clones in the upper northeast. Thai Journal of Forestry, 34(2): 11–21. (in Thai)
Kira, T., Shidei, T. 1967. Primary production and turnover of organic matter in different forest ecosystems of the Western Pacific. Japan Journal of Ecology, 17(2): 70-87.
Klangprapan, A., Maelim, S., Meunpong, P. 2019. Growth yields and financial return of 4-years-old Eucalyptus clone K58 and K62 planted in paired rows at Sa Kaeo plantation, Sa Keao province. KKU Research Journal, 19: 22–34. (in Thai)
Na Takuathung, C., Diloksumpun, P. 2020. An assessment of physical workload of timber harvesting workers in teak plantation, Phare province. Thai Journal of Forestry, 39(1): 125–134. (in Thai)
Pimtongngam, T. 2009. Statistics For Research. Thepsatri Rajabhat University, Lopburi, Thailand. (in Thai)
Pranchai, A., Kaakkurivaara, N., Premashthira, A. 2022. Application of Precision Forestry in Teak Plantations in Northern Thailand. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Prasertsingkul, S. 2021. Determining The Volume of a Eucalyptus Tree Trunk Using a 3D Laser Scanner (TLS) Survey. http://www. https://www.intaniamagazine.com/eucalyptus-tls/, 15 January 2022.
Rinnamang, S. 2020. Teak (Tectona grandis Linn.f.) Biomass Estimation Using Aerial Photogrammetry from Unmanned Aerial Vehicle at Thong Pha Phum Plantation, Kanchanaburi Province. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Royal Forest Department (RFD). 2017. Royal Forest Department Announcement No. 25/2017: Designated Areas for Government Agencies or Government Organizations to Enter National Reserved Forests. Royal Forest Department, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sanitwaja, S. 2016. Teak Volume Estimate by Unmanned Aerial Vehicle (UAV) in Mae Saroy Forest Plantation, Wang Chin district, Phare Province. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Sawiangphon, B., Lumyai, P., Maelim, S., Boukaew, C. 2021. Growth and yield models of four-year-old Eucalyptus Clones K7 and K62 at the Sa Keao plantation, Sa Keao province. Thai Journal of Forestry, 40(2): 187–203. (in Thai).
Spurr, S.H. 1952. Forest Inventory. The Ronald Press Co., New York, NY, USA.
Upadhyaya, S., Gyawali, P.,Sapkota, S., Nishan, N. 2023. Estimation of above ground biomass and carbon stock using UAV image. Journal on Geoinformatics, 22: 36–46. doi:10.3126/njg.v22i1.55123
Wongnam, P. Prasomsin, P. 2020. Local merchantable volume table of Dalbergia cochinchinensis Pierre: A case study at the Tha Kum Noboru Umeda plantation, Trat province. Thai Journal of Forestry, 39(2): 164-175 (in Thai)