การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ ภูพึง-ภูผาทูน และตาดกวางชี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ ในบริเวณป่าป้องกันแห่งชาติ ภูพึง-ภูผาทูนและตาดกวางชี ในปี พ.ศ. 2558-2566 และเพื่อใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเมินหาพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เส้นทางคมนาคม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่แหล่งน้ำ โดยใช้วิธีการแปลตีความด้วยสายตาและวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี พ.ศ. 2558–2566 พบว่า พื้นที่ป่าไม้ลดลงมากที่สุด จำนวน 2,965.81 เฮกตาร์ ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดจำนวน 2,959.10 เฮกตาร์ และปัจจัยที่มีผลต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด คือ รายได้เฉลี่ยรายหมู่บ้านต่อปี มีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.32 รองลงมาคือ จำนวนประชากรรายหมู่บ้าน ระยะห่างจากชุมชน ระยะห่างจากเส้นทางคมมนาคม ระยะห่างจากแหล่งน้ำ ร้อยละความลาดชันของพื้นที่และความสูงจากน้ำทะเล ซึ่งมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.23 0.15 0.12 0.10 0.05 และ 0.03 ตามลำดับ แบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ไม่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการบุกรุกต่ำมาก ความเสี่ยงต่อการบุกรุกต่ำ ความเสี่ยงต่อการบุกรุกปานกลาง ความเสี่ยงต่อการบุกรุกสูงและความเสี่ยงต่อการบุกรุกสูงมาก มีคิดเป็นร้อยละเท่ากับ 0.00 16.63 22.49 16.34 26.68 และ 17.86 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ป่าไม้มีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกสูง ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการวางแผนป้องกันพื้นที่เสี่ยงได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Agriculture and Forestry Office of Luang Prabang Province. 2020. PhouPheung-PhouPhaThoun-TadKuangSi Provincial Protection Forest Management Plan, Luang Prabang Province Year 2020-2025. Luang Prabang, Lao PDR.
Anderson, J.R. 1971. Land use classification schemes used in selected recent geographic applications of remote sensing. Photogrammetric Engineering, 37(4): 379-387.
Congalton, R.G., Green, K. 1999. Assessing the Accuracy of Remotely Sensed Data: Principles and Practices, 2nd ed. Lewis Publishers, Boca Raton, CRC Press, USA.
Department of Forestry. 2005. Report on the Assessment of Forest Cover and Land Use During 1992 and 2000. Retrieved from the Ministry of Agriculture and Forestry, Lao PDR.
Department of Forestry. 2021. Report on the Assessment of Forest Cover During 2015 and 2019. Retrieved from the Ministry of Agriculture and Forestry, Lao PDR.
Fox, J., Vogler, J.B.J.E.M. 2005. Land-use and land-cover change in montane mainland southeast Asia. Environmental Management, 36: 394-403.
KanIn, K., Khunrattanasiri, W. 2020. Comparative study on CA-Markov model and CLUE-S model for land use changed prediction in National Reserved Forest, Nan province. Journal of Applied Science, 19(2): 87-100.
Ketsingha, W. 1987. Principles of Creating and Analyzing Research Tools, 4th ed. Thai Wattana Panich, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Klinthong, S. 2018. Assessment the Risk of Intrusion into the Forest Areas in Pa Muaklek-Pa Tupkwang Plaeng 2 National Reserve Forest, Saraburi Province. M.S. Thesis, Thammasat University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Kummer, D.M., Turner, B.L.J.B. 1994. The human causes of deforestation in Southeast Asia. Bioscience, 44(5): 323-328.
Landis, J.R., Koch, G.G.J.b. 1977. The measurement of observer agreement for categorical data. Biometrics, 33(1): 159-174.
Nanhthavong, V., Epprecht, M., Hett, C., Zaehringer, J.G., Messerli, P.J.A.g. 2020. Poverty trends in villages affected by land-based investments in rural Laos. Applied Geography, 124: 102-298.
National Assembly. 2019a. Law on Forests (Revised). Vientiane Capital, Lao People’s Democratic Republic, Lao PDR.
National Assembly. 2019b. Land Law (Amended). Vientiane Capital, Lao People’s Democratic Republic, Lao PDR.
Paphaphanh, P., Chanthalounnavong, S., Phengsisomboun, S., Southommavong, L., Mangnomek, V., Sodahuk, V. 2024. The Impact of land use change on peatland degradation: A case Nathong and Saming Village, Champhone district, Champasack Province, Lao PDR. Sujournal, 10(1): 130-139.
Phompila, C., Lewis, M., Ostendorf, B., Clarke, K.J.L. 2017. Forest cover changes in Lao tropical forests: physical and socio-economic factors are the most important drivers. Land, 6(2): 23-37.
Robichaud, W.G., Sinclair, A.R.E., Odarkor-Lanquaye, N., Klinkenberg, B. 2009. Stable forest cover under increasing populations of swidden cultivators in central Laos: the roles of intrinsic culture and extrinsic wildlife trade. Ecology and Society, 14(1): 33-60.
Sayavong, S., Kaewjampa, N., Katawatin, R., Boonthai Iwai, C., Moukomla, S., Oszwald, J., Pierret, A. 2020. Recent co-occurring expansion of rubber tree plantations and land use/land cover change in Luangnamtha district, Northern Laos. International Journal of Geoinformatics, 16(1): 85-101.
Sonsab, T. 2018. Determining Risk Area for Encroachment of Forest in Head Watershed at Doi Phu Kha National Park, Nan Province. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)
Thomas, I.L. 2015. Drivers of Forest Change in the Greater Mekong Subregion-Lao PDR Country Report. USAID-LEAF and FAO, 232, Washington, D.C., United States.
Thongsangiam, A., Chuchip, K., Pothitan, R. 2018. Assessment of forest encroachment in the lower Mae Cheam watershed, Chiang Mai province. Thai Journal of Forestry, 37(2): 108-117. (in Thai)
Wangkeeree, P., Rianthakool, L., Arunpraparut, W. 2021. Application of geographic information system in the analysis of areas at risk from encroachment at the Phu Koh–Phu Kratae Wildlife Sanctuary, Loei province. Thai Journal of Forestry, 40(1): 34-49. (in Thai)