ลักษณะโครงสร้างและการเจริญเติบโตของป่าเบญจพรรณสัก ภายหลังการทำไม้ ๑๐ ปี

Main Article Content

สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะโครงสร้างป่าเบญจพรรณสัก และการเจริญเติบใตของต้นสักภายหลังการทำไม้มาแล้ว ๑๐ ปี ทำการศึกษาที่ป่าแม่ปุง (ตอนทำไม้ที่ ๒ แปลงที่ ๔) อ.สอง จ.แพร่ โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบ line plot แปลงตัวอย่างใช้แปลงวงกลมรัศมี ๑๒.๖๒ ม (๕๐๐ ม) จำนวน ๘๘ แปลง วัดต้นไม้ทุกต้นที่มีเส้นฝ่าศูนย์กลางเพียงอกเท่ากับ หรือโตกว่า ๕.๐ ซม.


การกระจายของจำนวนต้นไม้ตามชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกของป่าเบญจพรรณสัก และไม้กระยาเลย เป็นแบบ negative exponential curve แต่การกระจายของต้นสักไม่เป็นไปตามลักษณะดังกด่าว เมื่อปรับการกระจายของต้นสักตามชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้เข้าลักษณะ balanced uneven-aged forest แล้ว ปรากฎว่าจำนวนต้นสักที่ควรจะมีคือ ๓๑ ต้น/ ไร่ และได้แสดงจำนวนต้นสักในแต่ละชั้นซนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ควรจะมีด้วย


ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของต้นสักภายหลังการทำไม้ ๑๐ ปี (๐.๑๙๖ – ๐.๕๖๓ ซม.) มีน้อยกว่าความเพิ่มพูนใน ๕ ปีสุดท้าย (๐.๒๒๘ – ๐.๖๔๒ ซม.) ในทุกชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกเหนือเปลือกกับใต้เปลือก และเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกเหนือเปลือกปัจจุบัน กับ ๑๐ ปีที่แล้ว มีความสัมฟันธ์กันดังนี้ dbhob. present = 2.5124 + 1.0168 dbhi.b. present และ dbho.b. present = 4.8888 + 0.9660 dbh o.b. past ให้แสดงจำนวนต้นและพื้นที่หน้าตัตซองตันสักในแต่ละชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า และความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีทางพื้นที่หน้าตัดของต้นสักในช่วงเวลา ๑๐ ปีข้างหน้า แลความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีทางพื้นที่หน้าตัดของต้นสักในช่วงเวลา ๑๐ ปีข้างหน้า เท่ากับ ๐.๐๓๔ ม/ไร่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ