การเปลี่ยนแปลงของดินและพืชภายหลังเผา ณ ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงของดินและพืชภายหลังเผา ได้ดำเนินการในบริเวท้องที่ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมีนาคม ๒๕๒๖ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๒๗ โดยการวางแปลงถาวรขนาด ๒๐ X ๒๐ ตารางเมตร จำนวน ๒ แปลง ขนานไปตามแนวลาดชันและทำแนวกันไฟขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ล้อมรอบแปลงเพื่อเก็บข้อมูลทางด้านปริมาณเชื้อเพลิง ความหลากหลายของพืชพรรณและสมบัติทางฟิสิกส์และ เคมีของดินก่อนทำการเผา ศึกษาพฤติกรรมในรูปของอัตราการลุกลามของไฟ ความรุนแรงของไฟและความยาวของ เปลวไฟในขณะทำการเผา หลังจากเผาได้ศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีของดินทุก ๆ ๓ เดือน ศึกษาจำนวน ชนิด และอัตราการเจริญเติบโตทางความสูงของพืชในแปลงทดลอง ขนาด ๑ X ๒ ตารางเมตร จำนวน ๖ แปลงทุก ๆ เดือน และศึกษามวลชีวภาพในรูปน้ำหนักแห้ง ในแปลงทดลองขนาด ๑ X ๑ ตารางเมตร จำนวน ๔แปลง ทุก ๆ เดือน ผลการศึกษาพบว่าอัตราการลุกลามของไฟมีค่า ๖.๖๗ เมตร /วินาที ความรุนแรงของไฟมีค่า ๓๘,๖๒๗.๘๓ kw/m และความยาวของ เปลวไฟประมาณ ๑๐ เมตร ไฟที่เกิดขึ้นเป็นแบบไฟผิวดินที่ลุกลามเร็วมาก (running surface fire) ภายหลังเผา ๑ ปี ปรากฎว่าความชื้นของดินลดลงมากกว่า ๖๐ เปอร์เซนต์ และอัตราการแทรกซึมน้ำของดินลดลงเช่นกัน ส่วนความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นอนุภาค ความพรุน pH ปริมาณอินทรีย์วัตถุและฟอสฟอรัสของดินมีค่าไม่เปลี่ยนแปลง CEC และแคลเซียมลดลงเล็กน้อย ส่วนปริมาณโปแตสเซียม แมกนีเซียม และกำมะถันลดลงเกือบ ๕๐ เปอร์เซนต์ สำหรับผลการศึกษา เรื่องการทดแทนและพืชพบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยเพิ่มสูงสุดเมื่อพืชอายุ ๑๑ เดือน พืชที่ขึ้นทดแทนอายุ ๑ ปี มีความสูงเฉลี่ย ๑๖๔ ซม. พบทั้งหมด ๘ ชนิด ส่วนใหญ่เป็นหญ้าไม้ล้มลุก และไม้พุ่มขนาดเล็ก โดยหญ้าคามีความหนาแน่นมากที่สุด ความหนาแน่นของพืชเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เพื่มขึ้น พืชที่ขึ้นทดแทนจัดเป็นสังคมพืชแบบ fire stable community ส่วนปริมาณมวลซีวภาพจะฝันแปรตามอายุของพืช เมื่อพืชอายุ ๑ ปี มีปริมาถมวลชีวภาพประมาณ ๔๕๓ กรัม/ม๒ ความชื้นของเชื้อเพลิงมีค่ามากที่สุดในเดือนกันยายน และต่ำสุดในเดือน เมษายน โดยมีค่าเฉลี่ย ๒๕๖..๗๔ และ ๗๒.๐๗ เปอร์เซนต์ ตามลำดับ พบว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน - เมษายน เป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดไฟป่าสูง ไฟป่าที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ทำการศึกษานี้จัดอยู่ในขั้นอันตราย เนื่องจากความรุนแรงของไฟมากกว่า ๓,๔๕๘.๖ kw/m และความยาวของเปลวไฟมากกว่า ๓.๓๕ เมตร ดังนั้นวิธีดับไฟจึงควรใช้วิธีทางอ้อม เพื่อขจัดเชื้อเพลิงที่อยู่หน้าไฟออกอย่างรวด เร็ว แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตควรจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการศึกษาต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”