PREDICTING HEIGHT GROWTH OF YOUNG PINUS KESIYA FROM SOIL-PLANT NUTRIENTS AND NEEDLE TRAITS
Main Article Content
บทคัดย่อ
แปลงทดลองถิ่นกำเนิดของไม้สนสามใบสองแห่งซึ่งถือปฏิบัติงานภาคสนามของการศึกษาครั้งนี้ ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และที่ห้วยบง จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ห้วยบงมี ๑๘ ถิ่นกำเนิดและปลูกก่อนที่ท่าแซะมี ๑๑ ถิ่นกำเนิดหนึ่งปีเต็ม การเก็บตัวอย่างดินและใบสนได้กระทำในเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งขณะนั้นต้นไม้ในแปลงทคลองที่ห้วยบงมีอายุ ๔ มีครึ่ง ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการคำนวณหาการเจริญเติบโตทางความสูงของต้นไม้โดยอาศัยสมการสหสัมพันธ์มีทั้งหมด ๒๕ ตัว อันได้แก่ เส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก ลักษณะของใบปริมาณธาตุอาหารในใบ และปริมาณธาตุอาหารในดิน ผลการศึกษาพอสรุปได้ว่าลักษณะบางอย่างของใบ เช่น น้ำหนักแห้ง สี และความยาวสามารถใช้ปริมาณการเจริญเติบโตทางความสูงของไม้สนสามใบได้ ทว่าถ้าจะให้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น ก็ควรประมาณการจากปริมาณธาตุอาหารทั้งในดินและในใบ ถ้าแบ่งตัวแปรออกเป็น ๓ กลุ่ม ก็พบว่าการวิเคราะห์ดินให้ผลน่าเชื่อถือกว่าการวิเคราะห์พืช และการวิเคราะห์พืชก็ให้ผลถูกต้องกว่าการใช้ลักษณะของใบเป็นตัวชื้ ครั้นเมื่อสร้างสมการสหสัมพันธ์โดยใช้ตัวแปรทั้ง ๒๕ ตัว พร้อมกันก็พบว่า ๘๕ เปอร์เซ็นต์ของความผันแปรทางความสูงของไม้สนที่ห้วยบงขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก ในขณะที่ ๗๓ เปอร์เซ็นต์ของความฝันแปรดังกล่าวของไม้ในแปลงทดลองที่ท่าแซะขึ้นอยู่กับน้ำหนักแห้งของใบปริมาณธาตุอาหารพืชทั้งโดยการวิเคราะห์ใบวิเคราะห์ดินมีผลต่อการเจริญเติบโตทางความสูงของไม้สนที่เชียงใหม่และชุมพรน้อยมาก คือเพียง ๙ เปอร์เซ็นต์และ ๑๔ เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เท่านั้น อันสรุปได้ว่า ประเทศไทยและประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายยังไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยสวนสนสามใบในขณะที่ต้นไม้ยังมีอายุน้อย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”