ไม้ไช้เป็นสินค้าได้ของไทยบางขนิดที่มีผลึกซึ่งมีผลทำให้เครื่องมือที่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมผลึกในไม้ไทยที่ใช้เป็นสินค้าได้บางชนิดจาก ๔๑ สกุล และ ๒๒ วงศ์ พบว่าผลึกมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ตลอดจนการกระจายอยู่ในแต่ละเซลล์ ตามตำแหน่งของเซลล์ต่างกัน บางชนิดอยู่นอกเซลล์ บางชนิดอยู่ภายในเซลล์ เหตุที่ต้องศึกษาเพราะว่าผลึกแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในไม้ มีผลทำให้เครื่องมือที่ใช้ในการแปรรูปไม้ทื่อ และไม้แต่ละอย่างมีผลึกรูปร่างและจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะใช้ลักษณะและรูปร่างผลึกแยกลักษณะวงศ์ สกุลและอาจถึงชนิดไม้ได้ นอกจากนี้การอยู่ของผลึกโดยเฉพาะในเซลล์ เช่น พาเรงดิมา จะทำให้รูปร่างของเซลล์แตกต่างกันออกไป ผลึกบางชนิดทำให้ผนังเซลล์ที่มีลักษณะบางอยู่ก่อนแล้วกลายเป็นผนังหนาได้ จากผลการศึกษาลักษณะและรูปร่างของผลึกพบว่า ไม้ส่วนมากที่นำมาใช้เป็นสินค้าได้หลายชนิดและหลายวงศ์ มีผลึกเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือเหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนผลึกชนิดอื่น ๆ เช่น รูปกลม หรือค่อนข้างกลมและรูปเข็ม มักพบน้อยมากในบางวงศ์ และบางชนิดเท่านั้น อาทิ ผลึกรูปเหลี่ยมขนมเปียกปูน จะพบมากที่สุดและพบในวงศ์ต่าง ๆ ดังปรากฏในตารางรายงาน ๑-๕
ผลการค้นคว้านี้สำคัญ และจำเป็นมากที่ช่วยให้ผู้ที่จะใช้เครื่องมือทางไม้ หรือแปรรูปไม้พยายามหาทางป้องกัน เครื่องมือที่ใช้ในการแปรรูปไม้ ไม่ให้ทื่อเร็ว และถ้าเป็นไปได้อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการศึกษาคันคว้าประดิษฐ์เครื่องมือชนิดใหม่และมีประสิทธิภาพสูง ในการแปรรูปไม้ แต่ไม่ทื่อเร็ว โดยอาศัยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนหาวิธีการขจัดสารผลึกในไม้ก่อนที่จะนำมาแปรรูป ซึ่งเรื่องนี้น่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในอนาคตอย่างยิ่ง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”