การป้องกันราสีน้ำเงิน ในอุตสาหกรรมเครื่องเรือนหวาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาคันคว้าทางด้านวนผลิตภัณฑ์และการพัฒนาอุตสาหกรรมการรักษาเนื้อหวายเพื่อใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องเรือนต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ โดยทดลองใช้หวายกำพวน (Calamus longisetus) เพียงชนิดเดียว ซึ่งเป็นหวายที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์จากบรรดาหวายที่มีอยู่ในประ เทศไทยประมาณ ๔๐ - ๖๐ ชนิด จุดประสงค์ในการศึกษาเพราะว่าหวายส่วนมากมักจะถูกทำลายโดยราสีน้ำเงิน ทำให้เกิดรอยด่างขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้หวายมีคุณภาพและราคาต่ำลง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องค้นหาน้ำยาที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด แต่ราคาถูกและไม่มีอันตรายต่อผู้ใช้ อีกทั้งมีประสิทธิภาพพอที่จะป้องกันราสีน้ำเงินนั้นได้ เพื่อต้องการปรับปรุงคุณภาพของหวายที่ใช้ในการผลิตให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเรือนหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หวาย
จากหลักฐานได้ศึกษาพบว่าน้ำยาที่ใช้ทคลองคือ เบ็นนอกซ์ (Bennox) มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะปรับปรุงคุณภาพของหวายให้สูงขึ้น โดยเหตุที่การศึกษามุ่งถึงการขจัดราสีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่ หรือราชนิดอื่นที่ทำลายหวายเท่านั้น ฉะนั้นการศึกษาโดยใช้หวายกำพวนเพียงชนิดเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนราสีน้ำเงินที่ทำลายหวายส่วนมากพบว่า เป็นพวก ดิโพลเดียและเซอราโตซิสติสเป็นส่วนมาก พวกนี้มีสีต่าง ๆ กันเช่น สีดำ สีน้ำเงิน และสีน้ำเงินปนเทา หรือน้ำเงินปนน้ำตาลบ้าง ซึ่งราดังกล่าวนี้จะทำลายลึกลงไปในผิวเนื้อหวายยากแก่การขจัด หรือใช้สารเคมีใด ๆ มาฟอกสีทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกันโดยวิธีการแช่ หรืออาบน้ำยาหวายนั้น ๆ จากผลการทดลองยังพบว่าเปอร์เซนต์ของน้ำยาที่ใช้สัมพันธ์กับเวลาที่ใช้แช่หรืออาบน้ำยานั้นและสัมพันธ์กับการทำให้แห้งและการเก็บรักษาอีกด้วย ซึ่งมีผลต่อการชัดขวางการเจริญเติบโตของราสีน้ำ เงินนั้น แต่ผู้ที่จะปฏิบัติตามจะต้องคำนึงถึงสภาพท้องที่และปริมาณความชื้นในท้องที่นั้น ๆ ด้วย โดยอาจจะเปลี่ยนความเข้มข้นให้สูงขึ้นเป็น ๑-๓ เท่าของที่ ๆ แนะนำไว้ในที่นี้ก็ได้ ดังนั้นรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้รับจากการศึกษาทดลองนี้คงจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับกาค้นคว้าทางวนผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้สำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”