อุปสงค์ อุปทาน การจำหน่ายการใช้ฟืน และถ่านในเมืองกับในชนบทของประเทศไทย

Main Article Content

Sompetch Mungkorndin

บทคัดย่อ

จากการวิเคราะห์ผลการสำรวจผลผลิตการจำหน่ายและการบริโภคถ่าน ซึ่งดำเนินการโดยกองแผนงาน กรมป่าไม้ในปี ๒๕๒๕ พบว่า การผลิตถ่านทั้งประเทศมีปริมาณ ๓,๔๒๗.๕๓ ล้านกก. หรือคิดเป็นปริมาตรไม้ท่อนเท่ากับ ๒๒.๕๔ ล้าน ม.ราคายายที่หน้าเตาสำหรับถ่านป่าเลน ถ่านเคษ ไม้ปลายไม้จากโรงเลื่อย ถ่านไม้ยางพาราและถ่านป่าบกเฉลี่ย ๒.๖๗, ๑.๕๐, ๑.๔๐ และ ๑.๓๙ บาท/กก. ตามลำดับ ราคาขายจากผู้แทนจำหน่ายหรือพ่อค้าคนกลางอยู่ระหว่าง ๒.๒๑-๓.๒๖ /กก.


การบริโภคถ่านใน ๓ ภาคคือ ภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมและ ภาคบริการสังคม มีปริมาณ ๓,๓๗๘.๓๖ ล้าน กก. รายละเอียดในแต่ละภาคแบ่งตามภาคพื้น และแบ่งเป็นเขตในเมือง (เทศบาล + สุขาภิบาล) และเขตชนบทได้แสดงไว้ในการศึกษานี้ด้วย


เมื่อเปรียบเทียบการบริโภคของครัวเรือน ในเขตขนบทกับเขตเมืองแล้วปรากฎว่าการบริโภคในเขตชนบทซึ่งถือพลเมือง ๓๓ ล้านคนเป็นฐาน มีปริมาณ ๒,๐๘๗.๖๖ ล้าน กก. เทียบเท่าปริมาณไม้ท่อน ๑๓.๗๓ ล้าน ม. ปริมาณการบริโภคถ่านตก ๐.๔๑ ม. ต่อหัว การบริโภคในเขตเมืองโดยถือพลเมือง ๑๔ ล้านคนเป็นฐานเท่ากับ ๙๘๑.๓๒ ล้าน กก . หรือ ๖.๔๕ ล้าน ม. ไม้ท่อนการบริโภคต่อหัว เท่ากับ ๐.๔๖ ม. ปริมาณการบริโภคถ่านทั้งประเทศในปี ๒๕๒๕ ถือจำนวนพลเมือง ๔๗ล้านคนเท่ากับ ๓,๐๖๘.๙๘ ล้าน กก . หรือ ๒๐.๑๘ ล้าน ม. ไม้ท่อนปริมาณการบริโภคถ่านต่อหัวเฉลี่ยทั้งประเทศเท่ากับ ๐.๔๓ ม. ไม้ท่อน


การเปรียบเทียบการศึกษานี้กับปี ๒๕๑๓ และ ๒๕๒๓ แสดงให้เห็นว่าปริมาณการใช้ถ่านในเขตชนบทลดลง ปริมาณการบริโภคถ่านต่อหัวในปี ๒๕๑๓, ๒๕๒๓ และ ๒๕๒๕ แปรจาก ๐.๕๑ ม. เป็น ๐.๕๔ และ ๐.๔๗ ม. ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ