การปลูกกะหลำปลีในท้องที่แม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง

Main Article Content

Sompetch Mungkorndin

บทคัดย่อ

การผลิตกะหลำปลี (Brasica oleracea var.capitata) กำลังแพร่หลายอยู่ในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศูนย์การผลิตอยู่ในบริเวณบ้านแม่เหาะเหนือซึ่งเป็นพื้นที่นิคมสร้างตนเอง ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ห้องที่แม่เหาะได้เปรียบกว่าส่วนอื่นของประเทศที่สามารถปลูกกะหล่ำปลีได้ดีในระหว่างฤดูฝน พื้นที่ระบายน้ำฝนได้ดีมีอากาศเย็น ปกติมีการใช้ปุ๋ยคอกและทำร่องระบายน้ำในแนวดิ่ง พื้นที่ปลูกกะหล่ำปลีอาจมีถึง ๖o๘ เฮคแตร์


ผู้อยู่ในขบวนการผลิตกะหล่ำปลีประกอบด้วย เจ้าของที่ดินซึ่งมีทั้งชาวกะเหรี่ยงและชาวไทยเหนือในท้องถิ่น กรรมกรซึ่งส่วนใหญ่ เป็นกะเหรี่ยง ผู้เซ่าที่ดิน ผู้ซื้อกะหล่ำปลีแบบตก เขียว และพ่อค้าขายส่ง ซึ่งอาจจะมาจากที่ไกล ๆ เช่น กรุงเทพ ฯ ผลกำไรส่วนใหญ่ถูกถ่ายเทไปสู่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ จากการซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำไร่ ผลประโยชน์ที่ตกแก่เศรษฐกิจท้องถิ่นมีน้อย


ปรากฏว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปลูกกะหล่ำปลีอย่างชัดเจนในท้องที่คือมีการกัดชะดินสูงขึ้น มีการไหลบ่าของน้ำหน้าดินมากขึ้น และอาจมีการแพร่หลายของศัตรูพืชและโรคพืช ความล้มเหลวของการปลูกกะหล่ำปลีที่แคมพ์สน จังหวัดพิษณุโลก เป็นข้อเตือนใจได้เป็นอย่างดี นโยบายสำคัญสำหรับท้องที่นี้ เช่นเดียวกับอีกในหลายท้องที่ในสถานการณ์อย่างเดียวกัน ก็คือ จะต้องพยายามลดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้ที่ดินซึ่งประกอบด้วยชาวกะเหรี่ยงและชาวไทย เหนื่อพื้นเมือง ผู้ที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นและหน่วยราชการต่าง (นโยบายที่ดินจะต้องประสานการใช้ประโยชน์ทั้งทางภาคเอกชนและภาครัฐบาล หากพื้นที่ที่เหมาะสำหรับจะเป็นป่าไม้ได้รับการคุ้มครองป้องกันการผลิตกะหล่ำปลีก็อาจจะดำเนินต่อไปได้โดยแนะนำมาตรการในการอนุรักษ์ดินเข้ามาช่วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ