การศึกษาการใช้ที่ดินและผลิตผลป่าไม้ของป่าภูหลวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการใช้ที่ดินและผลผลิตป่าไม้ของป่าภูหลวง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอปักธงไชย จังหวัดนศรราชสีมา ได้ดำเนินการโคยใช้ภาพถ่ายทางอากาศขาว-ดำ มาตราส่วน ๑ :๑๕,๐๐๐ ซึ่งถ่ายทำระหว่างปี พ.ศ . ๒๕๑๘-๒๕๒๐ โดยได้ใช้ภาพถ่ายทางอากาศมาประกอบในการแปลภาพทำแผนที่ของบริเวณที่ศึกษา และได้ใช้ประกอบในการสำรวจทรัพยากรป่าไม้
วิธีการสำรวจแบบลายเส้นซึ่งใช้สุ่มตัวอย่าง ๒.๕ % ได้ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แปลงตัวอย่างแบบวงกลมซ้อนซึ่งมีขนาดรัศมี ๑๗.๘๔, ๑๖.๖๑ และ ๕.๖๔ เมตร ได้ใช้ในการสุ่มนับจำนวนและชนิดไม้ในบริเวณที่ศึกษา ต้นไม้ทุกต้นที่มีความโต ๓๐ ซม. ที่ความสูงเพียงอก (๑.๓. เมตรจากพื้นดิน) จะถูกวัดความสูง ความโตโดยแยกชนิด เพื่อนำไปคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดและปริมาตรไม้ต่อไป ส่วนในวงกลมวงกลางขนาค วัศมี ๑๒.๖๑ ม. ใช้ไม้ในการสุ่มนับจำนวนต้นไม้ขนาดเล็ก โดยแยกชนิด เพื่อใช้ประกอบในการศึกษาการเจริญเติบโตของไม้หนุ่มเป็นไม้ใหญ่ในชั้นต่อ ๆ ไป วงกลมวงในสุดรัศมี ๕.๖๔ ม. ใช้ในการสุ่มนับจำนวนลูกไม้และกล้าไม้ เพื่อประกอบในการประเมินการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของบริเวณที่ศึกษาโดยแยกแต่ละชนิดไม้
นอกจากนั้นในการศึกษาครั้งนี้ได้บันทึกสภาพทั่ว ๆ ไปของพื้นที่โดยบันทึก พื้นที่ถูกบุกรุกทำลาย ความหนาแน่น สักษณะโครงสร้างทางนิเวศนวิทยา หลักฐานของไฟป่าและอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบในการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป
ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่าในพื้นที่ทั้งหมด ๘๙.๙๙ กม๒ (๕,๒๒๙.๕๐ ไร่) ได้จำแนกเป็นป่าดิบแล้งสมบูรณ์ ๖..๕๔ กม๒ (๗.๓๒ %) ในป่าดิบแล้งนี้ได้วิเคราะห์แล้วทราบว่ามีไม้ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง มะค่าโมง และตะแบก เป็นไม้ชนิดสำคัญ ผลการวิเคราะห์ทราบว่าในป่าชนิดนี้มีจำนวนต้นไม้ทั้งหมด ๑๐๔,๙๑๖ ต้น หรือ ๑๕๙ ต้นต่อเฮคแตร์ ( ๑ เฮคแตร์ = ๑๐,๐๐๐ ม๒) ซึ่งมีปริมาตรไม้ทั้งหมด ๖๓,๒๑๑.๒๘ ลูกบาศก์เมตร ( ๙๕.๙๒ ม๓ ต่อ เฮคแตร์) การคิดคุณค่าไม้โดยวิธีประเมินค่าของไม้ยืนต้นทราบว่าในป่าแห่งนี้มีคุณค่าไม้ ๒๐,๖๑๖,๔๗๖ บาท เฉลี่ยประมาณ ๓๑,๒๘๔ บาทต่อเฮคแตร์ การศึกษาครั้งนี้พบว่าผลิตผลป่าไม้ในบริเวณป่าฎหลวงนี้มีปริมาตรต่ำกว่าในป่าชนิดเดียวกับในบริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
การตรวจนับไม้ขนาดเล็กพบว่ามีไม้เล็กทั้งหมด ๒๗๙,๑๓๙ ต้น (ไม้ขนาดเล็กคือไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกน้อยกว่า ๓๐ ซม. แต่สูงกว่า ๑.๓๐ ม.) หรือเฉลี่ย ๔๒๔ ต้นต่อเฮคแตร์ และมีลูกไม้และกล้าไม้ทั้งหมด ๑๓๒,๐๐๐ ต้น เฉลี่ย ๒๐๐ ต้นต่อเฮคแตร์
การใช้ที่ดินประ เภทอื่นในพื้นที่ศึกษาจำแนกได้ดังนี้ ป่าดิบแล้งเสื่อมโทรม ๑.๔๘ กม๒ (๑.๖๔ %) พื้นที่เกษตร ๕๓.๐๔ กม๒ (๕๘.๙๖ %) พื้นที่ถางทำไร่เลื่อนลอย ๒๘.๘o กม๒ (๓๒.๐๑ %) และแหล่งน้ำ ๐.๐๖ กม๒ (๐.๐๗ %)
การศึกษาด้านเศษฐกิจและสังคมพบว่าสภาพป่าแห่งนี้ถูกทำลายอย่างหนัก อันเนื่องมาจากการบุกรุกแผ่วถางป่าโดยผิดกฏหมายเพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืชไร่ การลักลอบตัดไม้และการเผาถ่านซึ่งมีผลทำให้ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณนี้ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”