การเจริญเติบโตของพรรณไม้ในป่าเต็งรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ได้จัดทำแปลงตัวอย่างถาวรขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อศึกษาการเจริญเดิบโตของพรรณ์ไม้และการเปลี่ยนแปลงของบำเต็งรัง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกรบกวนจากการตัดฟันในสภาพเช่นนี้ ป่าเต็งรังมีต้นไม้ที่เส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกเกิน ๑๐ ซม. จำนวน ๓๑ ชนิด ๙๖๕ ตัน ปริมาตร ๑๐๖.๖๕ ม.๓ ต่อเนื้อที่ ๑ เฮกตาร์ การเจริญเติบโตทางเส้นผ่ารูนย์กลางเฉลี่ยของไม้ทุกชนิดประมาณ ๑-๒ ม.ม./ปี บางชนิตก็โตเร็ว เช่น ไม้ประดู่ ๓ - ๔.๔ ม.ม./ปี ไม้รัง ๑.๐-๔.๕ ม.ม./ปี บางชนิดโตช้า เช่น ไม้พยอม ๑ ม.ม./ปี การเจริญเติบโตทางลำต้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเรือนยอด การเจริญเติบโตสุทธิของป่า ๑.๘๖ ม.๓/เฮกตาร์/ปี อัตราการตายตามธรรมชาติ ๐.๓๓ ม.๓/ เฮกตาร์/ปี ซึ่งการตายมีความสัมพันธ์กับขนาดความโตของลำต้น ปริมาณของ Ingrowth ๐.๔๖ ม.๓/เอกตาร์/ปี ในสภาพธรรมชาติที่มีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำ ลูกไม้จะเติบโตจนมีความสูงพ้นระดับอก ประมาณ ๑๕ ต้น/เฮกตาร์/ปี ไฟป่ามีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของลูกไม้ และลักษณะโครงสร้างของป่า ทำให้ปริมาณของต้นไม้ขนาดเล็กน้อย ไม่มีต้นไม้ชนิดใดมีการกระจายของเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นแบบ L-shaped หากป้องกันไฟ ลูกไม้เต็งจะใช้เวลาประมาณ ๗ ปี เติบโตจนรอดพ้นจากไฟป่าได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”