การปกคลุมของเรือนยอดในป่าสามชนิดบริเวณลุ่มน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หาเปอร์เซ็นการปกคลุมของเรือนยอดในป่า ๓ ชนิด คือ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ได้ดำเนินการที่ลุ่มน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๓ โดยการวางแปลงตัวอย่าง ขนาด ๔๐ ม. x ๔๐ ม. ๑ แปลง ในป่าแต่ละชนิด แล้วแบ่งออกเป็นแปลงย่อย ขนาด ๑๐ ม. x ๑๐ ม. ทั้งหมด ๑๖ แปลง หมายตำแหน่งของต้นไม้ทุกต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ความสูงเพียงอก ตั้งแต่ ๔.๕ ซม. ขึ้นไป พร้อมทั้งวัตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเรือนยอด โดยใช้เทปวัด ๒ ครั้ง ในแนวตั้งฉากซึ่งกันและกัน แล้วจึงทำการเขียนรูปแปลนของการปกคลุมของเรือนยอดในลักษยะวงกลมลงบนกระดาษกราฟ การคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของเรือนยอดนั้นกระทำโดยการใช้ Polar planimeter method, Weight-value method และ Equal-area-segment method ผลปรากฏว่าการปกคลุมของเรือนยอดจะลดน้อยลง เมื่อความหนาแน่นของต้นไม้ลดน้อยลง การปกคลุมของเรือนยอดจะมีมากที่สุดในป่าดิบแล้ง รองลงมาคือ ปาเต็งรัง และน้อยที่สุดในป่าเบญจพรรณ การทำเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของเรือนยอด ทั้ง ๓ วิธี ปรากฎว่ามีความแตกต่างกันเพียง ๑.๕% เท่านั้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”